การเชื่อมชิ้นส่วนสุญญากาศระดับสูงนั้นเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญแลจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ทักษะ ความชำนาญ และเทคนิคในการเชื่อมที่พิเศษมากกว่าการเชื่อมทั่วไป ปัจจุบัน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ใช้กระบวนการเชื่อมแบบ TIG (Gas Tungsten – Arc welding) ซึ่งเป็นกรรมวิธีการเชื่อมที่ใช้ลวดทังสเตน (Tungsten Electrode) เป็นตัวอาร์ค และใช้แก๊สเฉื่อยเป็นเกราะปกคลุมบริเวณแนวเชื่อม
ที่ผ่านมาสถาบันฯ ประสบปัญหาการรั่วไหลของระบบสุญญากาศระดับสูง (Ultra High Vacuum) ทำให้เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนไม่สามารถผลิตแสงซินโครตรอนเพื่อให้บริการได้ เนื่องจากปัญหาการแตกร้าวของรอยเชื่อม และเกิดการบิดตัวของโลหะที่เชื่อมประสานกัน ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนในการวางตำแหน่งอุปกรณ์ที่ต้องการความแม่นยำสูง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาเตาสุญญากาศขึ้นเพื่อช่วยในกระบวนการเชื่อมต่อชิ้นงานอุปกรณ์สุญญากาศ ข้อดีของการเชื่อมด้วยเทคนิคนี้คือสามารถประยุกต์ใช้กับการเชื่อมโลหะที่เป็นชนิดเดียวกัน และต่างชนิดกันได้ ชิ้นงานที่เชื่อมประสานกันเกิดการบิดตัวน้อย ช่วยให้การวางตำแหน่งอุปกรณ์ที่ต้องการความแม่นยำสูงได้ดียิ่งขึ้น เพื่อรองรับการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องเร่งอนุภาคและอุปกรณ์ระบบลำเลียงแสง ยกตัวอย่างเช่น หน้ากากตัดแบ่งแสง (Mask), อุปกรณ์ตัดแสง (Slit), อุปกรณ์วัดตำแหน่งของแสง (Photon Beam Position Monitoring) และท่อเร่งอนุภาค (Linear Accelerator) เป็นต้น
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ตัวอย่างชิ้นงาน |
![]() |
![]() |
การเชื่อมประสานวัสดุคมตัดติดกับด้ามจับ | การอบชิ้นงานเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกล |
![]() |
![]() |
การเชื่อมท่อคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศ | การเชื่อมชิ้นส่วนของเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา |
การพัฒนาเตาสุญญากาศเพื่อการเชื่อมแล่นประสานโลหะในสภาวะสุญญากาศนี้ ใช้งบประมาณดำเนินการ 7 ล้านบาท ซึ่งหากนำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 20-25 ล้านบาท ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินถึง 13-18 ล้านบาท และถือเป็นการพัฒนาองค์ความรู้จากองค์กรภาครัฐขึ้นมาใช้โดยฝีมือคนไทย
ความรู้ความชำนาญ และเทคโนโลยีที่เกิดจากการพัฒนาเตาสุญญากาศนี้ สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้งานเตาสุญญากาศได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องมือตัด (Cutting Tools) ,อุตสาหกรรมการอบชุบโลหะ (Heat Treatment), อุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ(Air Conditioning System) และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา Catalytic Converter ยกตัวอย่างเช่น การเชื่อมประสานวัสดุคมตัดติดกับด้ามจับ การเชื่อมประสานท่อน้ำยาคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศ หรือการอบชิ้นงานเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกล เป็นต้น