จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย นับแต่การยืนยันพบผู้ป่วยนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 แม้ไทยจะรับมือการแพร่ระบาดในช่วงแรกได้ค่อนข้างดี แต่ก็เกิดการแพร่ระบาดที่ยากจะควบคุมหลายระลอก ขณะเดียวกันก็มีความต้องการในหลายๆ ด้านเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ตั้งแต่วิธีการป้องกันการติดเชื้อ วิธีการรักษา บุคลากรทางการแพทย์ สถานที่การรักษา ยารักษา รวมไปถึงเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ตั้งอยู่ใน จ.นครราชสีมา ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นเดียวกับหลายพื้นที่ของประเทศ เล็งเห็นความจำเป็นในการช่วยเหลือและร่วมบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อดังกล่าว จึงได้ร่วมวางแนวยุทธศาสตร์กับหน่วยงานการปกครองส่วนจังหวัดนครราชสีมา ด้วยการสนับสนุนการจัดสร้างเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังเป็นการสนองนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อช่วยเหลือบุคลากรด่านหน้าในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่นี้ด้วย
ส่วนงานการผลิตซึ่งปกติทำงานเพื่อสนับสนุนการทำงานส่วนงานอื่นๆ ของสถาบันฯ เช่น การทำงานของส่วนปฏิบัติงานระบบลำเลียงแสงของสถานีวิจัย ส่วนวิจัยและพัฒนาเครื่องเร่ง ส่วนเดินเครื่องและซ่อมบำรุง โดยส่วนงานการผลิตได้รับนโยบายจากสถาบันฯ ในการสนับสนุนการจัดสร้างอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ มาตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 จนถึงปัจจุบัน โดยได้สร้างผลงานเพื่อช่วยด่านหน้าในการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ดังต่อไปนี้
ทั้งหมดนี้คือผลงานของส่วนงานการผลิตที่ได้นำองค์ความรู้จากการสนับสนุนงานวิจัยและการดำเนินงานของสถาบันฯ มาปรับใช้เพื่อพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ และยังสะท้อนให้เห็นว่า ในยามวิกฤตสามารถนำองค์ความรู้ของสถาบันฯ ออกมาช่วยเหลือสังคมได้ ซึ่งสถาบันฯ ได้ส่งมอบนวัตกรรมเหล่านี้กระจายไปยังโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ
บทความโดย
สกลกวี ปราบงูเหลือม
หัวหน้าส่วนการผลิตและวิศวกรอุตสาหการ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน