การจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)
นายเมธี โสภณ
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
บทนำ
เมื่อพูดถึงเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนหลายคนในประเทศไทยที่ไม่ได้มีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็อาจจะนึกไม่ออกว่ามันคือเครื่องอะไร แล้วแสงซินโครตรอนคืออะไร ทำไมจึงต้องมีการป้องกันอันตรายทางรังสีด้วย คำถามหลักๆ เหล่านี้จะถูกหยิบยกมาอธิบายเป็นคำตอบที่พยายามให้ผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ผ่านบทความสั้นๆ ฉบับนี้ และก่อนที่จะเข้าสู่คำถามเหล่านั้น จะขอกล่าวถึงรังสีให้ทราบเป็นพื้นฐานดังนี้ "รังสี"(Radiation) คือการปลดปล่อยพลังงานออกไปในรูปแบบของคลื่นหรืออนุภาค ดังนั้นเมื่อรังสีเกี่ยวข้องกับพลังงาน รังสีจึงสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดพลังงานสูงที่ก่อให้เกิดไอออนได้(Ionizing radiation) และชนิดพลังงานต่ำไม่ก่อให้เกิดไอออน(Non-ionizing radiation) โดยทั่วไปหากมีพลังงานสูงกว่า 10 keV จะถูกจัดเป็นพวกที่ก่อให้เกิดไอออนได้[1] และแต่ละชนิดยังสามารถแยกย่อยออกไปได้อีกมากมายดังภาพที่ 1 ซึ่งแสดงให้เห็นการแบ่งชนิดของรังสี
ภาพที่ 1 การแบ่งชนิดของรังสี[1]
รังสีจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน
เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนจะผลิตอิเล็กตรอนออกมาก่อนแล้วเร่งให้มีพลังงานสูงๆ สูงขนาดที่มีความเร็วใกล้ความเร็วแสงหรือประมาณ 3 ×108 m/s และด้วยความเร็วขนาดนั้นมันจึงต้องวิ่งเลี้ยวโค้งเป็นวงกลมอยู่ในท่อสุญญากาศ เพื่อไม่ให้มีโมเลกุลของอากาศมาขวางทางวิ่งของอิเล็กตรอน วิธีการทำให้มันวิ่งเลี้ยวโค้งของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่นี่จะใช้แม่เหล็กไฟฟ้าบังคับให้มันวิ่งเลี้ยวโค้งทีละ 45 องศา ทั้งหมด 8 ตัว ก็จะครบ 1 รอบพอดี และทุกขณะที่มันกำลังวิ่งเลี้ยวโค้งในสนามแม่เหล็ก อิเล็กตรอนจะปลดปล่อยพลังงานออกไปในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเราเรียกว่า "แสงซินโครตรอน" นั่นเอง
มาถึงตรงนี้แล้วพอนึกออกหรือยังว่า จะมีรังสีอะไรบ้างจากการผลิตแสงซินโครตรอน มาลองพิจารณา อิเล็กตรอน ท่อสุญญากาศ แม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะพบว่าเมื่ออิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาคพลังงานสูงวิ่งอยู่ในท่อสุญญากาศ
กรณีแรกถ้ามีโมเลกุลของอากาศหลงเหลืออยู่ในท่อ(เป็นระบบสุญญากาศที่ไม่สมบูรณ์) ก็จะถูกอิเล็กตรอนพลังงานสูง(~1.2 GeV) วิ่งชนเมื่อชนแล้วมันจะปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาได้
กรณีต่อมาอิเล็กตรอนพลังงานสูงอาจจะวิ่งชนเข้ากับผนังด้านในของท่อสุญญากาศมันก็จะปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นรังสีเอกซ์ รังสีแกมมารวมถึงนิวตรอนด้วย
ส่วนกรณีสุดท้ายก็คือแสงซินโครตรอนหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เราตั้งใจผลิตขึ้นมา จะประกอบด้วยรังสีอินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ รังสียูวี และรังสีเอกซ์ ตามภาพที่ 2 ที่แสดงแถบช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยแสงจะออกมาพร้อมกันทั้งหมด ดังนั้นเมื่อจะเอาแสงซินโครตรอนไปใช้งานจึงต้องมีระบบลำเลียงแสง เพื่อคัดเอาเฉพาะพลังงานที่นักวิทยาสาสตร์สนใจเช่น ระบบลำเลียงแสงนี้จะใช้พลังงานของแสงซินโครตรอนย่านรังสีอินฟราเรดเท่านั้น ระบบลำเลียงแสงนั้นจะใช้พลังงานของแสงซินโครตรอนย่านรังสีเอกซ์เท่านั้น เป็นต้น แล้วในระบบลำเลียงแสงเองก็จะมีอุปกรณ์ต่างๆ มากมายที่จะต้องมีการสะท้อนแสง การโฟกัสแสง การกระเจิงของแสง หรือหักเหทิศทางของแสง ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีโอกาสที่จะทำให้เกิดรังสีเอกซ์และนิวตรอนขึ้นได้อีก[2]
ภาพที่ 2 แสดงแถบช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี
จากที่กล่าวไว้แล้วว่า รังสีจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนจะมีทั้งชนิดพลังงานสูงที่ก่อให้เกิดไอออนเช่น รังสีเอกซ์ แกมมา นิวตรอน เป็นต้น และชนิดพลังงานต่ำที่ไม่ก่อให้เกิดไอออนเช่น อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ รังสียูวี เป็นต้น ทั้งนี้การจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสีนั้นได้มุ่งเน้นที่พลังงานสูงที่ก่อให้เกิดไอออน โดยอาศัยหลักในการได้รับรังสีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผล หรือ As low as reasonably achievable (ALARA) ซึ่งเป็นหลักการสากลและเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย รวมถึงพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการกำกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสีอย่างถูกต้องและปลอดภัยของประเทศ สถาบันฯ จึงได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางรังสีทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ปฏิบัติงาน ประชาชนทั่วไป และสิ่งแวดล้อม จึงวางระบบการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสีไว้ดังต่อไปนี้
ภาพที่ 3 แสดงการแบ่งพื้นที่ทางรังสีประจำสถาบันฯ
ภาพที่ 4 แสดงผลการวัดระดับรังสีที่เกิดขึ้นแบบเวลาจริง
บทสรุป
จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้นสามารถที่จะพอสรุปได้ว่า รังสี"(Radiation) คือการปลดปล่อยพลังงานออกไปในรูปแบบของคลื่นหรืออนุภาค สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือชนิดพลังงานสูงที่ก่อให้เกิดไอออนได้ (Ionizing radiation) และชนิดพลังงานต่ำไม่ก่อให้เกิดไอออน (Non-ionizing radiation) ส่วนรังสีที่ได้จากการผลิตแสงซินโครตรอนของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนในปัจจุบันจะมีทั้งสองชนิด ประกอบด้วยรังสีอินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ รังสียูวี ซึ่งเป็นรังสีชนิดพลังงานต่ำไม่ก่อให้เกิดไอออนและยังประกอบด้วยรังสีเอกซ์ รังสีแกมมารวมถึงนิวตรอน ซึ่งเป็นรังสีชนิดพลังงานสูงที่ก่อให้เกิดไอออนได้ ทั้งนี้ รังสีแกมมาและนิวตรอนเกิดขึ้นตามปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนมิได้มีขีดความสามารถในการกำเนิดรังสีสองชนิดนี้
ดังนั้นการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสีจึงมุ่งเน้นที่รังสีพลังงานสูงที่ก่อให้เกิดไอออน โดยอาศัยหลักในการได้รับรังสีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผล (As low as reasonably achievable: ALARA) รวมถึงพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 โดยสถาบันฯ ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางรังสีทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ปฏิบัติงาน ประชาชนทั่วไป และสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้จัดให้มี การอบรมบุคคลที่ทำงานในบริเวณรังสี การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานทางรังสีและกำหนดเครื่องหมายทางรังสี การเตรียมแผ่นวัดรังสีประจำบุคคลให้กับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีทุกคน การกำหนดเวลาเข้าปฏิบัติงาน การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีและการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันรังสี การติดตั้งอุปกรณ์การตรวจวัดรังสีตามจุดต่างๆ ทั้งในและนอกอาคาร ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการผลิตและการให้บริการแสงซินโครตรอนนั้นมีความถูกต้อง ปลอดภัยตามกฎหมายและหลักการสากล
เอกสารอ้างอิง
[1] http://safetytraining.nsrrc.org.tw
[2] P. Berkvens, Radiation protection European regulations Radiation Safety Meeting, SOLEIL synchrotron, 18 October 2006
[3] http://www.oap.go.th/attachments/article/481/ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยมาตรา%2091.pdf
[4] http://www.icrp.org/icrpaedia/limits.asp
[5] ประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับรังสี