โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“XTM Workshop 2023: Tomography data analysis, & 3D visualization”
Learn how to analyze tomography data and visualize 3D images
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กันยายน พ.ศ. 2566
ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จังหวัดนครราชสีมา
ความสำคัญและที่มาของโครงการ
ปัจจุบัน เทคนิคการถ่ายภาพเอกซเรย์โทโมกราฟีด้วยซินโครตรอน (Synchrotron radiation X-ray Tomographic Microscopy: SRXTM) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและความพรุนแบบสามมิติ ได้รับความสนใจจากนักวิจัยและได้รับการตึพิมพ์ลงในวารสารวิชาการจำนวนมาก ส่วนเทคนิคภาพโทโมกราฟี (Tomography imaging section; TMS) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “XTM Workshop 2023: Tomography Data Analysis, & 3D Visualization” ระหว่างวันที่ 7 – 8 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ สถาบันฯ ขึ้น เพื่อเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์ภาพเอกซเรย์โทโมกราฟีและการนำเสนอผลในรูปแบบสามมิติให้แก่นักวิจัย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ประกอบด้วยการบรรยายและการใช้โปรแกรมประมวลผลภาพโทโมกราฟี โปรแกรมการวิเคราะห์โครงสร้าง ความพรุน และโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลการกระจายตัวของรูพรุนในรูปแบบสามมิติ ผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้รับความรู้ทางเทคนิคและได้ฝึกใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันฯ รวมถึงโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกลุ่มวิจัยเพื่อนำไปต่อยอดสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนในการถ่ายภาพเอกซเรย์โทโมกราฟีของสถาบันฯ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. เพื่อเพิ่มทักษะของผู้ใช้บริการในการวางแผนการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง และการตั้งเป้าหมายของงานวิจัยสู่การตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการระดับประเทศและนานาชาติ
3. เพื่อสนับสนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันฯ และผู้ใช้บริการระบบลำเลียงแสง และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกลุ่มวิจัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณเฉลิมลักษณ์ ภูวสวัสดิ์ ส่วนเทคนิคภาพโทโมกราฟี ฝ่ายระบบลำเลียงแสง โทร 044-217-040 ต่อ 1505 E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. |
|
กำหนดการอบรม
Time |
Program |
วันพฤหัสที่ 7 กันยายน 2566 |
|
08.30 – 09.00 |
ลงทะเบียน |
09.00 – 09.45 |
Introduction: “Synchrotron radiation X-ray tomography (SRXTM) and its applications”. โดย ดร. แคทลียา โรจน์วิริยะ |
09.45 – 10.00 |
รับประทานอาหารว่าง |
10.00 – 12.00 |
Software training: Tomography reconstruction. โดย ดร.รัตนา เจริญวัฒนาเสถียร |
12.00 – 13.00 |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 14.45 |
Software training: Porosity analysis & visualization in 3D. โดย ดร. แคทลียา โรจน์วิริยะ |
14.45 – 15.00 |
รับประทานอาหารว่าง |
15.00 – 16.00 |
Software training: Porosity analysis & visualization in 3D. โดย ดร. แคทลียา โรจน์วิริยะ |
16.00 – 18.00 |
Hands-on experiment & discussion at XTM Beamline. โดย ดร.แคทลียา โรจน์วิริยะ, ดร.รัตนา เจริญวัฒนาเสถียร และ คุณเฉลิมลักษณ์ ภูวสวัสดิ์ |
ศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 |
|
09:00 - 09:30 |
Tutorial for preparing a successful beamtime proposal. โดย ดร.แคทลียา โรจน์วิริยะ |
09:30 - 10:30 |
Hands-on Drishti Part1: Making 3D volume from your XTM data. โดย ดร.รัตนา เจริญวัฒนาเสถียร |
10:30 - 10:45 |
รับประทานอาหารว่าง |
10:45 - 12:00 |
Hands-on Drishti Part2: All measurement & Data options. โดย ดร.รัตนา เจริญวัฒนาเสถียร |
12:00 - 13:00 |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13:00 - 14:30 |
Hands-on Drishti Part3: Look inside your volume with 3D widgets. โดย คุณเฉลิมลักษณ์ ภูวสวัสดิ์ |
14:30 - 14:45 |
รับประทานอาหารว่าง |
14:45 - 16:00 |
Hands-on Drishti Part4: Make your volume alive (Movie & Animation). โดย ดร.แคทลียา โรจน์วิริยะ |
16:00 - 16:30 |
Group discussion & closing |