LINE ALBUM มศว 230130 13

สถาบันวิจัยแสงชินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดการบรรยายภายใต้โครงการซินโครตรอนถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีสู่การประยุกต์ใช้และหารืองานวิจัยพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ นักวิจัย และนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Synchrotron User and Application Promotion (SUAPA) เมื่อวันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภูณิศรา ลิ้มนนทกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มศว. เป็นประธานเปิดพิธี ซึ่งการบรรยายครั้งนี้มีอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากคณะวิทยาศาสตร์ มศว. และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วม 59 คน

ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ครั้งนี้ ดร.ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ รักษาการหัวหน้าส่วนบริการผู้ใช้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และคณะนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง ได้ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคและเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน โดยมุ่งเน้นไปที่เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (X-ray Absorption Spectroscopy: XAS) เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (X-ray Fluorescence: XRF) เทคนิคสเปกโตรสโกปีโฟโสอิเล็กตรอนด้วยรังสีเอกซ์ (X-ray Photoelectron Spectroscopy: XPS) เทคนิคเอกซเรย์โทโมกราฟี (X-ray Tomography :XTM) และเทคนิคเอกซเรย์ลิโธกราฟี (Deep X-ray Lithography) สู่การประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในงานวิจัยด้านต่างๆ และ ดร.ฐิติรัตน์ จรุญสุข ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. ได้บรรยายด้านวัสดุคอมโพสิต

 

พร้อมกันนี้สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้ารับการปรึกษางานวิจัยในรูปแบบ “คลินิกวิจัยสัญจร” โดยแบ่งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จำแนกตามกลุ่มเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบ ให้คำแนะนำผู้ใช้แสงซินโครตรอนที่มีผลการทดลองจากการใช้แสงซินโครตรอนเพื่อมุ่งวิเคราะห์ผล ต่อยอด และตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ทั้งยังให้คำแนะนำในด้านเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการวิคราะห์ผล ความเหมาะสมสำหรับการเตรียมตัวอย่างชิ้นงานในการเข้าทำการทดลอง รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อเข้าใช้บริการแสงซินโครตรอน และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้เสนอความคิดเห็นทั้งในด้านการให้บริการ และด้านการจัดกิจกรรม เพื่อนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา 

 

จากการอบรมและการให้คำปรึกษาในคลินิกวิจัยสัญจรครั้งนี้ ได้เกิดโจทย์งานวิจัยที่จะทำร่วมกัน คือ วิธีการทดสอบหน้ากากผ้าและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ วิธีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการพัฒนาเมล็ดกาแฟให้มีกลิ่นมีหอมสำหรับงานวิจัยด้านจุลชีวะด้วย