LNSN 2

 

เมื่อวันที่ 22-23 มีนาคม พ.ศ.2565 เครือข่ายความร่วมมือทางด้านนิวเคลียร์และซินโครตรอนแห่งอาเซียน หรือ ASEAN Large Nuclear and Synchrotron Facility Network (LNSN) ได้จัดการประชุมเชิงวิชาการ ภายใต้ชื่องาน ASEAN Symposium on the application of radiation techniques for cultural heritage research ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนและสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

LNSN 1

 

การจัดงานประชุมเชิงวิชาการในครั้งนี้ มีจุดประสงค์ที่จะสร้างความร่วมมือในงานวิจัยทางด้านมรดกวัฒนธรรมของนักวิจัยและหน่วยงานวิจัยต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใจ้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการใช้ประโยชน์เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน หรือเตาปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย เป็นต้น

 

LNSN 3

 

โดยในงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางด้านมรดกวัฒนธรรมหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์โคเอน แจนเซ่น (Prof.Koen Janssens) จากมหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป (University of Antwerp) ประเทศเบลเยียม ดร.คลอทิลด์ เบราท์ (Dr.Clotilde Boust) จาก Center for research and conservation for French museum ประเทศฝรั่งเศส ดร.ฟิโลมีนา ฟลอริอานา ซาลเวมินี (Dr.Filomena Floriana Salvemini) จาก Australian Nuclear Science and Technology Organisation (ANSTO) ประเทศออสเตรเลีย คุณบาโรโต (Bharoto) จาก Nuclear Energy Research Organisation (BATAN) ประเทศอินโดนิเซีย และคุณธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ นักโบราณคดี จากกรมศิลปากร เป็นต้น โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 200 คน จาก 38 ประเทศ

 

1648708813064                                               1648708780976

ในการประชุมได้มีการนำเสนองานวิจัยทางด้านมรดกวัฒนธรรมจากประเทศต่างๆ ทั้งในเรื่องการใช้แสงซินโครตรอนในย่านรังสีเอกซ์ รังสีนิวตรอน และรังสีแกมมา เช่น การใช้รังสีเอกซ์ในการศึกษาองค์ประกอบธาตุและการเสื่อมของเม็ดสีบนภาพเขียนของจิตรกรชื่อดัง การศึกษาโครงสร้างภายในของพระพุทธรูปขนาดใหญ่ด้วยเทคนิคการสร้างภาพสามมิติด้วยรังสีนิวตรอน การใช้รังสีแกมมาในการจัดการกับแมลงที่มาทำลายเนื้อในของไม้ หรือการใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ในการเก็บรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า เป็นต้น

 

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงาน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการทำงานวิจัยทางด้านมรดกวัฒนธรรม รวมถึงปัญหาที่ประสบในการทำวิจัย ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ปัญหาสำคัญของนักวิจัยส่วนใหญ่ก็คือการเข้าถึงเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานวิจัยนั้นๆ และการหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้นการมีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านงานวิจัยจะเป็นคำตอบสำหรับปัญหาที่นักวิจัยหลายคนกำลังเผชิญอยู่

 

1648708829605

 

1648708883786

 

ติดตามกิจกรรมเครือข่าย ASEAN Large Nuclear and Synchrotron Facility Network (LNSN) ได้ที่ www.ASEANlnsn.com

1648708867679

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องการใช้ประโยชน์เทคนิคแสงซินโครตรอนและนิวเคลียร์ได้ที่อีเมล

ดร.สมชาย ตันชรากรณ์ (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.), ดร.กนกพร บุญศิริชัย (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) เลขานุการเครือข่าย ASEAN LNSN

 

1648708903388