ทีมนักวิจัยจากประเทศอินโดนีเซีย นำโดย Prof. Ismunandar และ Dr. Grandprix T.M. Kadja จาก Institut Teknologi Bandungdisabled, Bandung ได้นำตัวอย่างสีที่ใช้สร้างศิลปะภาพยุคก่อนประวัติศาสตร์จากผนังถ้ำสองแห่งใน East Kalimantan, Indonesia ตัวอย่างที่นำมาจาก Tewet Cave มีสีแดง สีแดงอิฐ และสีม่วงที่ และตัวอย่างจากผนังใน Karim Cave มีสีแดง สีแดงเข้มและสีม่วง
ข้อจำกัดคือปริมาณตัวอย่างที่มีน้อยทำให้ยากในการศึกษา จากผล XRD จากทั้งสองถ้ำพบแร่ hematite ที่เป็นธาตุให้สี และพบแร่ gypsum and calcite ที่เป็นส่วนประกอบของหินในผนังถ้ำที่ใช้วาดภาพติดมากับตัวอย่างสี มีเพียงแร่ whewellite ที่เพิ่มขึ้นมาในถ้ำ Karim Cave นอกจากนี้พบว่าสีม่วงแสดงความเป็นผลึกมากกว่าและมีขนาดของผลึกที่ใหญ่กว่าสีแดง รองลงไปคือสีแดงอิฐและสีแดง สำหรับเทคนิค XANES ถึงแม้ว่าทุกสีจะเป็น Fe3+ แต่การวิเคราะห์ pre-edge พบว่าสีม่วงมีสมมาตรน้อยกว่าสีแดงอิฐ และสีแดงที่มีสมมาตรทรงแปดหน้า (Octahedral Fe3+) มีสมมาตรมากที่สุด จากการวิเคราะห์ผลการทดลองจากทั้งเทคนิค XRD และ XAS ทำให้สันนิฐานว่าตัวอย่างสารสีม่วงผ่านการให้ความร้อนนานที่สุด เชื่อมโยงถึงการใช้ความร้อนเป็นเทคโนโลยีในการสร้างเฉดสีที่แตกต่างกันไปในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สองผลงานนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Microchemical Journal และ Journal of Archaeological (Ilmi et al., 2020; Nurdini et al., 2020)
บทความโดย ดร.ชาตรี ไสยสมบัติ นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง
เอกสารอ้างอิง
1. Ilmi, M. M., Nurdini, N., Maryanti, E., Saiyasombat, C., Setiawan, P., & Kadja, G. T. M. (2020). Multi-analytical Characterizations of prehistoric rock art pigments from Liang Karim Cave, Sangkulirang-Mangkalihat site, East Kalimantan, Indonesia. Microchemical Journal, 104738.
2. Nurdini, N., Maryanti, E., Ilmi, M. M., Setiawan, P., Saiyasombat, C., & Kadja, G. T. (2020). Physicochemical investigation of prehistoric rock art pigments in Tewet Cave, Sangkulirang-Mangkalihat Site, East Kalimantan-Indonesia. Journal of Archaeological Science: Reports, 31, 102345.