รายละเอียด
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 31 พฤษภาคม 2560
การใช้งาน Program XASscan Macro
คำอธิบายสัญลักษณ์
Sample แสดงถึง คำหรือข้อความที่สำคัญในประโยคนั้นๆ
[Sample] แสดงถึง ปุ่มกด
<Sample> แสดงถึง ช่องที่สามารถใส่ค่าหรือเลือกค่าได้
“Sample” แสดงถึง ค่าที่จำเป็นต้องอ่านหรือสังเกต
“Sample ” แสดงถึง ตำแหน่งที่เก็บ file ข้อมูล
โปรแกรม XASscan Macro
โปรแกรม XASscan Macro ใช้ในการสแกนตัวอย่างที่พลังงานต่างๆ แล้วนำค่า Intensity count ก่อนถึงตัวอย่างและหลังจากผ่านตัวอย่าง ไปคำนวณค่าการดูดกลืนเพื่อให้ได้ผลการทดลองในรูปแบบของ XANES (X-ray absorption near edge structure) และ EXAFS (Extended X-ray absorption fine structur)
ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม XASscan Macro
เปิดโปรแกรม XASscan Macro ขึ้นมาจะเห็นหน้าต่างดังแสดงในรูปที่ 1 *ต้องปิดโปรแกรมอื่นๆทั้งหมดก่อนเปิดโปรแกรม XASscan Macro
รูปที่ 1 แสดงหน้าต่างหลักของโปรแกรม XASscan
เลือก mode ที่ต้องการ ในช่อง <XAS mode and Detector> สามารถเลือกได้ 3 mode การวัดคือ
Transmission mode
Fluorescence mode
Transmission and Fluorescence mode (เป็นการวัดทั้งสองโหมดพร้อมกัน)
กรณีเลือก mode ที่ 2 หรือ 3 ต้องทำการ [Load] configuration file ใน Folder “D:\Xmanager configuration” โดยช่องด้านล่าง configuration file แสดงรายละเอียด เช่น “Peaking time” “SCA Low” และ “SCA High” ของ configuration นั้นๆ
ใส่ค่า <Parameter> ที่จะใช้ในการสแกนตัวอย่างในช่อง Set parameters
สามารถเลือกใส่ค่า parameter เป็นแบบ Absolute คือใส่ค่าพลังงานจริงตามที่ต้องการจะวัดหรือแบบ Relative คือใส่ค่าช่วงพลังงานที่ต้องการจะวัดโดยเทียบจากพลังงาน E0 เป็นหลักโดยที่
E0 คือค่าพลังงานที่ขอบการดูดกลืนของธาตุนั้นๆ
Energy (eV) คือช่วงพลังงานที่ต้องการจะวัด
Energy Step (eV) คือระยะห่างของพลังงานที่ต้องการวัดในแต่ละจุด
Time Step (sec.) คือเวลาที่ใช้วัดในแต่ละจุด
ตัวอย่าง การตั้งค่า Parameter กรณีเลือกแบบ Absolute
Energy (ev) : 6862, 7082, 7182, 7262
Energy Step (eV) : 5, 0.2, 5
Time Step (sec.) : 1, 3, 1
การตั้งค่าแบบนี้หมายความว่า จะเริ่มสแกนที่พลังงาน 6862eV จนถึง 7262eV ซึ่งจะแบ่งช่วงในการสแกนดังนี้
ช่วง 6862-7082eV จะมีระยะห่างของพลังงานในการวัดจุดละ 5 eV และใช้เวลาในการวัดที่แต่ละพลังงาน 1 sec.
ช่วง 7082-7182eV จะมีระยะห่างของพลังงานในการวัดจุดละ 0.2eV และใช้เวลาในการวัดที่แต่ละพลังงาน 3 sec.
ช่วง 7182-7262eV จะมีระยะห่างของพลังงานในการวัดจุดละ 5eV และใช้เวลาในการวัดที่แต่ละพลังงาน 1 sec.
กรณีเลือกแบบ Relative
E0 : 7112
Energy (ev) : -150, -30, 70, 150
Energy Step (eV) : 5, 0.2, 5
Time Step (sec.) : 1, 3, 1
การตั้งค่าแบบนี้หมายความว่า จะเริ่มสแกนที่พลังงาน –150 eV ถึง 150 eV โดยเทียบกับพลังงาน E0 ตลอดทั้งสแกน นั่นคือ
ที่พลังงาน –150 eV คือ 7112-150 = 6862 eV
ที่พลังงาน –30 eV คือ 7112-30 = 7082 eV
ที่พลังงาน 70 eV คือ 7112+70 = 7182 eV
ที่พลังงาน 150 eV คือ 7112+150 = 7262 eV
โดยในแต่ละช่วงพลังงานจะใช้ Parameter ในการสแกนเช่นเดียวกับแบบ Absolute
เมื่อใส่ค่าที่ต้องการแล้ว ทำการกด [Save] และตั้งชื่อ <Parameter> นั้น ข้อมูลจะเก็บไว้ใน Folder “D:\Preset parameters”
จากนั้นทำการตั้งค่าตำแหน่งของตัวอย่างใน Set position โดยนำค่า Chanel 9 และ Chanel 10 มาใส่ตามตำแหน่งที่ต้องการในช่อง P1-P9
สามารถกด [Save] ตำแหน่งของตัวอย่างและตั้งชื่อ <Position> เก็บไว้ที่ Folder “D:\Position setting” เพื่อที่จะสามารถโหลดมาใช้ใหม่ได้ หากต้องการตำแหน่งเดิมของตัวอย่าง
เลือกตำแหน่งตัวอย่างที่ต้องการวัดที่ <Sample position>
สามารถเลือก SP (Set point) คือตำแหน่งของตัวอย่างปัจจุบัน หรือเลือก P1-P9 คือตำแหน่งตามค่าพิกัด X (Chanel9) และ Y (Chanel10) ใน Set position
สามารถประมาณเวลาที่ใช้ในการสแกน โดยกด [Time Estimate]
การบันทึกข้อมูลผลการทดลอง
ตั้งชื่อตัวอย่างที่ <File name> ไฟล์จะถูกเก็บไว้ที่ Folder “D:\XAS_Data\YYYYMMDD\File_name.####.txt” ตัวอย่างเช่น D:\XAS_Data\20170101\Sample.0001.txt ซึ่งหมายถึงปี/เดือน/วัน ที่ทำการวัด\ชื่อไฟล์ตัวอย่าง\และตัวเลขแสดงลำดับที่ของไฟล์ (โดยลำดับที่ของไฟล์จะเริ่มจากตัวเลขใน <Next File Number> และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเสร็จการทดลอง) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการ save file ทับกับ file เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
ช่อง “Start Scan” แสดงเวลาจริง (Real time) ที่โปรแกรมเริ่มทำการสแกนและช่อง “Finish Time” แสดงเวลาจริงที่การสแกนเสร็จสิ้น
สามารถบันทึกข้อความที่จำเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตัวอย่างได้ในช่อง <Note> โดยข้อความจะไปปรากฎใน header ของ file ผลการทดลองนั้นๆ
ตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ NAS โดยสังเกตไฟที่อยู่ด้านหน้า NAS ซึ่งสีแดง หมายถึงยังไม่เชื่อมต่อ สีเขียว หมายถึงเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว
การ Run ตัวอย่างแบบปกติ กรณีที่ต้องการตั้ง Start Time
ให้ตั้งเวลาที่ <Start time> ตามเวลาจริง (Real time) เป็น hh:mm เมื่อตั้งเวลาแล้วต้องกดปุ่ม [Auto ABS3] และ [Auto Start] ให้เปลี่ยนจาก OFF เป็น ON โปรแกรมจะเริ่มทำการสแกนเมื่อถึงเวลาที่ตั้งค่าไว้
กรณีที่ต้องการ Run ตัวอย่างทันที
กดเฉพาะปุ่ม [Auto ABS3] ให้เปลี่ยนจาก OFF เป็น ON เท่านั้นจากนั้นกดปุ่ม [Start] โปรแกรมจะเริ่มทำการสแกนทันที
การ Run ตัวอย่างแบบ Macro mode
กดเลือก [Macro] ให้เปลี่ยนจาก OFF เป็น ON
ปุ่ม setting ในช่อง Macro file จะปรากฏขึ้นให้สามารถใช้งานได้
กดปุ่ม [Setting] เพื่อเปิดหน้าต่างหลักของ macro mode และเข้าไปตั้งค่าการสแกน
รูปที่ 2 แสดงหน้าต่างหลักของ macro mode setting
ทำการตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ต้องการวัดสำหรับแต่ละตัวอย่าง
ตั้งชื่อลำดับการสแกน <Q name>
ตั้งชื่อไฟล์ <File name>
กำหนดตำแหน่งตัวอย่าง <Position>
กำหนดจำนวนสแกน <no. of scan>
ตั้งค่าพารามิเตอร์ โดยเลือก Preset File โดยกด [Load Preset] หรือใส่ค่า <E0> , <Energy (eV)> , <Energy step (eV)> , <Time Step (sec.)>
**กรณี Fluorescence mode ต้องเลือก Config File โดยกด [Load Config]
กด [Add Q] เพื่อเพิ่มเข้าไปในลำดับการสแกนใน Macro mode
หากมีการแก้ไขต้องกด [Apply] ทุกครั้ง
เมื่อเพิ่มลำดับการสแกนและตั้งค่าพารามิเตอร์เรียบร้อยแล้ว ทำการกด [Save] และตั้งชื่อ <Macro file name> เก็บไว้ที่ “D:\Macro file”
สามารถเลือกการ Run ตัวอย่างได้ทั้งแบบตั้งเวลา Start time หรือแบบ Run ตัวอย่างทันทีเช่นเดียวกันกับการ Run ตัวอย่างปกติในข้อ 13) โดยที่ปุ่ม [Macro] จะต้องแสดงสัญลักษณ์ ON ก่อนทำการกดปุ่ม [Start]
ในระหว่างการสแกนถ้าหากมีข้อผิดพลาดหรือต้องการจะหยุดสแกน สามารถกดปุ่ม [Pause] เพื่อหยุดสแกนนั้นได้และสามารถกดปุ่ม [Resume] โปรแกรมจะสั่งให้เริ่ม run สแกนนั้นใหม่อีกครั้งโดยจะ save ไฟล์ทับไฟล์ที่ Pause ไว้ก่อนหน้า
กรณีกดปุ่ม [Stop] โปรแกรมจะหยุดสแกนและ save สแกนนั้นทันที
Useful tips
ถ้าเปิด XASscan macro ไม่ได้ให้ปิดโปรแกรมอื่นๆทั้งหมดก่อน แล้วลองเปิดโปรแกรม XASscan Macro อีกครั้ง
ตรวจสอบค่า Gain เพื่อดูว่าตรงกับค่าที่ตั้งไว้ในขั้นตอนการ Set gain หรือไม่ หากไม่ตรงต้องปิดโปรแกรมแล้วไปที่ขั้นตอนการ Set gain และทำการ Set gain ที่เหมาะสมใหม่
ในระหว่างการสแกนสามารถเลือกเส้นกราฟที่แสดงค่า I0I1 และผลของการทดลองได้ที่มุมขวาบน
กรณีที่ Beam dump สามารถกด [Pause] หรือ [Stop] ไว้ โดยเมื่อมีการ Stored beam เรียบร้อยสามารถกด [Resume] หรือ [Start] เพื่อทำหารสแกนต่อไป