สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้พัฒนาระบบอัจฉริยะเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมการเพาะเลี้ยงถั่งเช่า โดยเพาะเลี้ยงถั่งเช่าในรูปแบบของฟาร์ม ตามแนวคิด “Smart Farmer” ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง เพื่อให้ได้ถั่งเช่าที่มีคุณภาพ อุดมไปด้วยสารอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และได้นำถั่งเช่าที่เพาะเลี้ยงไปวิเคราะห์สารสำคัญด้วยแสงซินโครตรอน พบว่ามีปริมาณ “สารอะดีโนซีน” ซึ่งเป็นมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล กระตุ้นการเผาผลาญ สร้างเสริมพละกำลัง และสร้างความกระปรี้กระเปร่า สูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาด
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสถานีวิจัย
E-mail : rungrueang@slri.or.th
โทร 1410
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ บริษัทเซโก้ ฟาร์ม
สนใจเครื่องเพาะเลี้ยงถั่งเช่าอัตโนมัติสามารถติดต่อได้ที่ ส่วนงานพัฒนาธุรกิจ
โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1607-1608
E-mail : bds@slri.or.th
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ Minus-Sun Facial Sun Protection SPF50+ PA+++ ด้วยเทคนิค micro-synchrotron based X-ray fluorescence imaging โดยศึกษาการซึมผ่านผิวหนังของอนุภาคนาโนไททาเนียมไดออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารกันแดดที่เติมลงในผลิตภัณฑ์ โดยใช้ผิวหนังของหมูแรกเกิดเป็นผิวหนังจำลองติดตามการซึมผ่านผิวหนังตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้าจนถึงชั้นหนังแท้ ทำให้สามารถพิสูจน์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดในแง่ของการปราศจากความเป็นพิษจากการซึมผ่านของสารอนุภาคนาโนลงในผิวหนังได้และสามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพและความปลอดภัยที่สูงขึ้นจากผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดของ บริษัท แพน ราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
รับผิดชอบโครงการ ดร.วรวิกัลยา เกียรติ์พงษ์ลาภ ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 1
E-mail : worawikunya@slri.or.th โทร 1767
ดร.นิชาดา เจียรนัยกูร นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 1 E-mail : nichada@slri.or.th โทร 1488
และ นส.นันทิยา วงศ์แสงตา
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ผศ. ภญ. ดร.พนิดา ลอออรรถพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรม บริษัท แพน ราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ผู้สนใจโครงการครีมกันแดดสามารถติดต่อได้ที่ ส่วนงานพัฒนาธุรกิจ
โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1607-1608
E-mail : bds@slri.or.th
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ทำการศึกษาองค์ประกอบและสารสำคัญของเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์กระโปรงยาวสีขาว เพื่อนำความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้านต่างๆ และประสบความสำเร็จในการหาวิธีเพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีนกระโปรงยาวสีขาว รวมถึงวิธีการเก็บรักษาและการดูแลหลังการเก็บเกี่ยว โดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พบว่า เห็ดเยื่อไผ่ชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าเห็ดอื่นๆ เหมาะกับการนำมาบริโภคเป็นโปรตีนที่ทดแทนเนื้อสัตว์ อีกทั้งยังพบว่าเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีนกระโปรงยาวสีขาว มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูงและพบสารสำคัญที่สามารถนำไปทำยาโด๊ปได้ จึงสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ทั้งในวงการอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม รวมถึงวงการผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่สามารถพัฒนาให้มีคุณสมบัติทัดเทียมกับเยื่อเมือกหอยทากซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเห็ดเยื่อไผ่อีกด้วย
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.วรวิกัลยา เกียรติ์พงษ์ลาภ ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 1
E-mail : worawikunya@slri.or.th
โทร 1767
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
ผู้สนใจโครงการเห็ดเยื่อไผ่สามารถติดต่อได้ที่ ส่วนงานพัฒนาธุรกิจ
โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1607-1608
E-mail : bds@slri.or.th
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ทำการวิจัยคุณภาพเนื้อสุกรเชิงลึก โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนภายใต้สภาพความร้อนที่แตกต่างกัน เพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัยทางด้านองค์ประกอบทางชีวเคมีที่มีผลต่อคุณภาพของเนื้อสัตว์ ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมความสามารถในระบบการย่อยอาหารของร่างกาย อีกทั้งใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงและพัฒนาเนื้อสุกรให้ได้เนื้อสุกรที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการผู้บริโภคและมีคุณภาพด้านคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด โดยการวิจัยได้ใช้เนื้อสุกรสายพันธุ์แท้ของ เบทาโกร ทำการทดลองในสภาพการให้ความร้อนที่แตกต่างกัน สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของคุณภาพเนื้อสุกรแตกต่างกันตามอุณหภูมิ กล่าวคือ อุณหภูมิร้อนมากก็ทำให้สูญเสียโปรตีนมาก และถ้ามีอุณหภูมิที่ 70 องศา ต้มเนื้อสุกรนานประมาณ 20 นาที จะได้เนื้อสุกรที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมส่งออกเนื้อสุกรต้มสุกของไทยได้
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.กาญจนา ธรรมนู ผู้จัดการระบบลำเลียงแสง
E-mail : kanjanat@slri.or.th
โทร 1487
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ คุณสุวิมล พิทักวงศ์ นักวิจัยของ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)
ผู้สนใจโครงการคุณค่าทางโภชนาการของหมูต้มสุกสามารถติดต่อได้ที่ ส่วนงานพัฒนาธุรกิจ
โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1607-1608
E-mail : bds@slri.or.th
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ใช้แสงซินโครตรอน ในเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรด ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางชีวโมเลกุลในเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF7 (Human Breast Adenocarcinoma cell line) ที่ถูกยับยั้งการเจริญเติบโตด้วยโปรตีนสกัดจากดักแด้ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านนางลายและดักแด้ไหมอีรี่ พบว่าโปรตีนสกัดดังกล่าวมีผลทำให้เซลล์มะเร็งเต้านมตาย ซึ่งการค้นพบดังกล่าวจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การวิจัยในขั้นตอนต่อไปในการหาความเป็นไปได้จากการนำโปรตีนสกัดจากดักแด้ไหมทั้ง 2 สายพันธุ์มาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในอนาคต
ผู้รับผิดชอบงานวิจัย ดร.กาญจนา ธรรมนู ผู้จัดการระบบลำเลียงแสง
E-mail : kanjanat@slri.or.th
โทร 1487
ดร.สุทธิดา ชูเกียรติศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สนใจงานวิจัยมะเร็งเต้านมสามารถติดต่อได้ที่ ส่วนงานพัฒนาธุรกิจ
โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1607-1608
E-mail : bds@slri.or.th