การให้บริการ

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยมีพันธกิจเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับแสงซินโครตรอนและการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน การให้บริการแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งดำเนินการส่งเสริมการถ่ายทอดและการเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน มีการให้บริการดังต่อไปนี้

  • บริการแสงซินโครตรอน
    สถาบันฯ มีความพร้อมให้บริการเทคนิคแสงซินโครตรอน 11 ระบบลำเลียงแสง และ 12 สถานีทดลอง ได้แก่ เทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์ เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ เทคนิคการปลดปล่อยอิเล็กตรอน และเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ ฯลฯ
  • บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

    สถาบันฯ ให้บริการวิเคราะห์และทดสอบ โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

    1. กลุ่มเครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบทางด้านเคมี ชีวภาพ และกายภาพ
    2. กลุ่มเครื่องมือเตรียมตัวอย่าง เช่น เครื่องตัดชิ้นงาน ขัด-กัดผิวตัวอย่าง อัดตัวอย่าง บด/ย่อย เคลือบและฉาบผิวตัวอย่าง ฯลฯ
  • บริการวิจัยตอบโจทย์

    สถาบันฯ ให้บริการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ในลักษณะการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิเคราะห์ โดยใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ

  • บริการทางเทคนิคและวิศวกรรม

    สถาบันฯ ให้บริการเทคนิคและวิศวกรรม ได้แก่ การออกแบบ จัดสร้างชิ้นงาน ระบบควบคุมเพื่ออุตสาหกรรม เทคโนโลยีการผลิตระบบสุญญากาศ และการผลิตปั๊มสุญญากาศแบบสปัตเตอร์ไอออน

  • บริการให้คำปรึกษา

    สถาบันฯ ให้คำปรึกษา แนะนำด้านวิชาการ เผยแพร่ และถ่ายทอดเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

 

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะภาคเอกชน สถาบันฯ จึงมีการให้บริการในรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (Total Solution) กล่าวคือสถาบันฯ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาแก่ภาครัฐและเอกชน รวมถึงการช่วยแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต การคิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในรูปแบบ “Total Solution” โดยช่วยดำเนินการวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ถือเป็นการตอบโจทย์งานวิจัยและแก้ไขปัญหาอย่างครบวงจรแก่ภาคเอกชน นอกจากนี้ สถาบันฯ ดำเนินการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก ช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมหลากหลายรูปแบบ และถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

สถาบันฯ เน้นการวิจัย วิเคราะห์ และพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ดังนั้นจึงให้บริการกับกลุ่มอุตสาหกรรมดังนี้

  1. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ยาและเครื่องสำอาง
  2. กลุ่มอุตสาหกรรมยางและพอลิเมอร์
  3. กลุ่มอุตสาหกรรมโลหะ
  4. กลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุและวัสดุก่อสร้าง
  5. กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี
  6. กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์
  7. กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนจุลภาค

เครือข่ายของสถาบันฯ ภายใต้โครงการต่าง ๆ เช่น Food Innopolis (FI) Talent Mobility (TM) และ iTAP ช่วยสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานวิจัยสำหรับสถานประกอบการที่มีศักยภาพในการร่วมวิจัยกับสถาบันฯ และสามารถรับสิทธิประโยชน์ “ขอยกเว้นภาษี 300%” ได้ด้วย

หน่วยงานภาครัฐ, ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ,หน่วยงานจากต่างประเทศ

 

  • การให้บริการแสงซินโครตรอน : สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริการผู้ใช้ (User Service Section) โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1602-1605 E-mail : userservice@slri.or.th
  • การให้บริการแสงซินโครตรอนแก่ภาคอุตสาหกรรม : สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริการอุตสาหกรรมและสังคม โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1607-1608, 1610-1611 E-mail : bds@slri.or.th
  • การให้บริการด้านเทคนิคและวิศวกรรม : สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริการอุตสาหกรรมและสังคม โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1607-1608, 1610-1611 E-mail : bds@slri.or.th

หรือ Line Official (Line OA) : @users.slri 

 

  1. ยื่นแบบฟอร์มขอรับบริการที่ส่วนพัฒนาธุรกิจ (download แบบฟอร์ม http://www.slri.or.th/bds/)
  2. ส่วนพัฒนาธุรกิจเสนอราคาและค่าใช้จ่ายให้กับภาคเอกชน
  3. ภาคเอกชน ออกใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง หรือเซ็นเอกสารเสนอราคา ส่งมาที่ส่วนพัฒนาธุรกิจ
  4. เข้าสู่กระบวนการให้บริการ
  5. รายงานผลการวิเคราะห์/ส่งมอบงาน
  6. ดำเนินการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย

หากมีข้อซักถามหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อส่วนพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจองค์กร โทรศัพท์: 0 4421 7040 ต่อ 1607-1609 โทรสาร: 0 4421 7047 E-mail : useroffice@slri.or.th

สามารถติดต่อสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้ใน วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)

 

อัตราค่าบริการแสงซินโครตรอนคิดเป็น บาท/ชม.

  1. อัตรานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
  2. อัตรานี้ไม่รวมค่าวัสดุ และสารเคมี ผู้ขอใช้บริการต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าวัสดุและสารเคมีที่เกิดขึ้นตามความจริงทั้งหมด
  3. ค่าบริการกรณีใช้แสงซินโครตรอนไม่เกิน 15 นาที คิดค่าบริการ 0.25 ชั่วโมง
  4. ค่าบริการ กรณีใช้แสงซินโครตรอนเกิน 15 นาที แต่ไม่ถึง 60 นาที คิดค่าบริการ 1 ชั่วโมง
  5. ค่าบริการ ต่อรอบการให้บริการ (11 ชั่วโมง/Shift) คิดค่าบริการ 10 ชั่วโมง

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.slri.or.th/bdd/th/2-2013-09-26-08-15-38/48-2016-03-23-03-24-52.html

อัตราค่าบริการเครื่องมือจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

  1. บริการแสงซินโครตรอน
  2. บริการวิเคราะห์ทดสอบ
  3. บริการเทคนิคและวิศวกรรม
  4. เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  5. เครื่องมือ/เครื่องจักรทางวิศวกรรม

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.slri.or.th/bdd/th/2-2013-09-26-08-15-38/48-2016-03-23-03-24-52.html

อัตราค่าบริการห้องประชุม ห้องสัมมนา และพื้นที่ของสถาบัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.slri.or.th/bdd/th/2-2013-09-26-08-15-38/49-2016-03-23-03-25-14.html

การชำระเงิน สามารถเลือกเงื่อนไขในการชำระเงินและสามารถเลือกชำระค่าบริการได้

ขั้นตอนการชำระเงินสามารถเข้าดูได้ที่นี่ http://www.slri.or.th/bdd/th/2-2013-09-26-08-15-38/51-money.html

สามารถสอบถามได้จาก

  • ส่วนบริการผู้ใช้ 0-4421-7040 ต่อ 1602-1605, 1142 / E-mail : userservice@slri.or.th
  • ส่วนบริการอุตสาหกรรมและสังคม 0-4421-7040 ต่อ 1607-1608, 1610-1611 / E-mail : bds@slri.or.th
 

นอกจากการให้บริการแสงซินโครตรอน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) ยังให้บริการด้านการวิเคราะห์ทดสอบทางวิทยาศาสตร์หลากหลายด้าน รวมถึงการให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยอีกด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.slri.or.th/bdd/th/laboratory-instruments.html

หมวดหมู่ FaQ

11

2

3

4

5