เซิร์น (CERN) หรือ องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (The European Organization for Nuclear Research) เป็นองค์กรระหว่างประเทศในยุโรปที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยฟิสิกส์พื้นฐานระดับโลก ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ปัจจุบันงานวิจัยหลักของเซิร์นเกี่ยวข้องกับฟิสิกส์อนุภาคมากกว่าฟิสิกส์นิวเคลียร์ เซิร์นเป็นสถาบันวิจัยฟิสิกส์พื้นฐานระดับโลก และมีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักและเผยแพร่ความรู้ด้านฟิสิกส์อนุภาค และเป็นแหล่งรวมนักวิจัย วิศวกร และนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกในการออกแบบ จัดสร้างเครื่องเร่งอนุภาค เครื่องตรวจวัดอนุภาค และวิจัยทั้งทางทฤษฎีและการทดลองด้านฟิสิกส์อนุภาค รวมถึงการวิจัยที่เป็นฟิสิกส์แนวหน้า (Frontier Physics) เมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 เซิร์นได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในการเดินเครื่องเร่งอนุภาคแบบวงกลมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่เรียกว่า เครื่องเร่งอนุภาค LHC (Large Hadron Collider) มีเส้นรอบวง 27 กิโลเมตรอยู่ในอุโมงค์ลึกใต้ผิวดิน 100 เมตรในพรมแดนทั้งสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส เครื่องเร่งอนุภาค LHC เร่งโปรตอนให้มีความเร็ว 99.9999991% ของความเร็วแสงในสุญญากาศแต่ละลำโปรตอนสามารถมีพลังงานได้สูงสุดถึง7 TeV สถานีตรวจวัดที่สำคัญ 4 สถานี ได้แก่ ATLAS, CMS, ALICE, LHCb ลงทุนเป็นเงิน 6,030 ล้านฟรังก์สวิส เพื่อศึกษาถึงผลของการชนกันของลำอนุภาคโปรตอน ซึ่งเป็นการจำลองเหตุการณ์บิ๊กแบง (Big Bang) ที่เป็นจุดกำเนิดของจักรวาล โดยคาดว่าจะทำให้ค้นพบอนุภาคที่เป็นที่มาของอนุภาคมูลฐานของสสารได้ อันนำไปสู่การไขความลับเกี่ยวกับการกำเนิดจักรวาล ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเซิร์นได้ที่ https://home.cern/about
|
![]() |
|
ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับเซิร์น
ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเซิร์น ทรงมีพระราชดำริที่จะให้นักวิทยาศาสตร์จากประเทศไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่เซิร์น ทรงแสดงความสนพระทัยในงานของเซิร์นโดยได้ทรงเสด็จนำคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยไปเยือนเซิร์นถึง 6 ครั้ง
![]() |
![]() |
![]() |
ครั้งที่ 1: วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 |
ครั้งที่ 2: วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 |
ครั้งที่ 3: วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 |
![]() |
![]() |
![]() |
ครั้งที่ 4: วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553 |
ครั้งที่ 5: วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 |
ครั้งที่ 6: วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562 |
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมา หน่วยงานได้ประเทศไทยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานของเซิร์น ทั้งหมด 6 ฉบับ และการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation Agreement – ICA) ดังนี้
ประเทศไทยได้อะไรจากเซิร์น
ความร่วมมือกับเซิร์นเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทย ได้เรียนรู้ความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูงและฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยได้เข้าร่วมทำงานวิจัยกับบุคลากรของเซิร์น เข้าใช้เครื่องมือและข้อมูลที่ไม่สามารถจัดซื้อหรือจัดสร้างได้ในประเทศไทย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค เครื่องตรวจวัดอนุภาค และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้หลาย ๆ อย่างได้รับการนำไปพัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อการประยุกต์ใช้ รวมถึงด้านการศึกษาที่เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของเซิร์นในการให้การศึกษากับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรในอนาคต รวมถึงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งการยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย และการสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปัจจุบันการดำเนินกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นใน 5 โครงการ ได้แก่