อุตสาหกรรมที่ให้บริการ
![]() |
1. กลุ่มอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง วิเคราะห์กลไกการแพร่ผ่านชั้นผิวหนังของสารออกฤทธิ์ หรือสารอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงผิว โดยเน้นวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ |
![]() |
6. กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์พวกสารกึ่งตัวนำชนิดฟิล์มบาง เพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตโซลาร์เซลล์ จอโปร่งแสง รวมถึงการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนประกอบในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยเฉพาะหัวอ่านแม่เหล็ก และแหล่งบรรจุข้อมูล
|
![]() |
2. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร วิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีระดับโมเลกุลหรืออะตอม เช่น เพื่อพัฒนาแป้งดัดแปรให้ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ในกระเพาะอาหารสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ถูกควบคุมน้ำหนัก วิเคราะห์โครงสร้างโปรตีนของเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ และผลของสารเติมแต่งต่อคุณภาพของเนื้อสัตว์ นอกเหนือจากงานวิเคราะห์และทดสอบ ยังมีการวิจัยและพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของพืช เช่น ระบบตู้ควบคุมอัจฉริยะ (Smart Farming) และการติดตามผลการทดลองในลักษณะ Real timeเป็นต้น |
![]() |
7. กลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ขนาดจุลภาค (ขนาดจิ๋ว) สามารถออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ที่มีขนาดจุลภาคในระดับไมโครเมตรและนาโนเมตร ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนในแต่ละมิติต่ำ เช่น แม่พิมพ์สำหรับผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไมโครชิบ ชิ้นส่วนเครื่องจักรขนาดจิ๋ว และเฟืองเกียร์ เป็นต้น
|
![]() |
3. กลุ่มอุตสาหกรรมโลหะและเซรามิก วิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคของวัสดุการปนเปื้อนและข้อบกพร่องบนพื้นผิววัสดุ การกัดกร่อนของโลหะและเซรามิก การแยกตัวขององค์ประกอบทางเคมีในระดับจุลภาค และการตกผลึกของเฟสที่ 2 บนพื้นผิว เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุดังกล่าว ให้สามารถใช้งานในกระบวนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
![]() |
8. กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเคมีภัณฑ์ วิเคราะห์การจัดเรียงตัวของสารเคมีที่เคลือบบนผิวผ้าในระดับนาโนเมตร หรือวิเคราะห์เส้นใยนาโน เช่น เส้นใยผ้าที่ผสมซิลเวอร์นาโน เพื่อฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น
|
![]() |
4. กลุ่มอุตสาหกรรมยางและพอลิเมอร์ วิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างทางเคมีในระดับโมเลกุลและอะตอมของผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากยางพาราธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมการใช้งาน เช่น คุณสมบัติด้านการยืดยุ่น คุณสมบัติต้านแรงกระแทก ฯลฯ นอกจากนี้ สามารถวิเคราะห์โครงสร้างผลึกของยางที่เปลี่ยนไปภายใต้สภาวะความดันหรืออุณหภูมิต่าง ๆ
|
![]() |
9. กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี วิเคราะห์โครงสร้างระดับอะตอมของธาตุในอัญมณี เพื่อบงชี้ข้อมูลเชิงลึกในการเปลี่ยนสีของอัญมณีให้ได้ตามที่ต้องการ เป็นต้น
|
![]() |
5. กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ วิเคราะห์ชิ้นส่วนโลหะและโลหะผสมที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคทางเคมี การถ่ายภาพด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างจุลภาคของโลหะ
|
![]() |
10. กลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ข้างต้น ยังมีกลุ่มงานวิจัยอื่น ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในโรงกลั่นน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วิเคราะห์เกี่ยวกับวัสดุทางการแพทย์ และวิเคราะห์พื้นผิวฟิล์มบางที่นำไปประยุกต์ใช้ทางด้านบรรจจุภัณฑ์ เป็นต้น
|
ตัวอย่างการให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของสถาบัน
กุ้งแช่แข็ง
เทคนิคจุลทรรศน์อินฟราเรด ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ช่วยหาสาเหตุของการเกิดจุดสีขาวบนเปลือกกุ้ง ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) พบว่า จุดขาวนั้นคือผลึกของธาตุแคลเซียมที่แยกตัวออกมาจากโครงสร้างไคตินของเปลือกกุ้ง ซึ่งก่อตัวขึ้นมาจากการสูญเสียน้ำจากเปลือกกุ้ง และจะถูกเร่งให้สูญเสียน้ำมากขึ้น ตามระยะเวลาการเก็บภายใต้สภาวะแช่แข็งเป็นเวลานาน ข้อมูลที่ได้มีส่วนช่วยในการบริหารจัดการ การเก็บรักษาและการจำหน่ายกุ้งแช่แข็งช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกกว่า 1,350 ล้านบาท/ปี
นักวิจัย : คุณเบญญาภา ทองทุม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
เบทาโกร
บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจอาหารเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกโดยมีฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจร รวมถึงการผลิตเนื้อสุกร ภายใต้เครื่องหมายการค้า S-Pure ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ในการศึกษาคุณภาพเนื้อสุกรจากสายพันธุ์ที่แตกต่างกันในเชิงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณค่าทางโภชนะ เพื่อให้ประชาชนได้รับและบริโภคเนื้อสุกรที่มีรสชาติและคุณภาพสูง
นักวิจัย : คุณสุวิมล พิทักษ์วงษ์ บริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด
CP-senser
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลค่าความชื้นและอุณหภูมิให้สามารถเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ที่ตรวจวัดภายในโรงเรือนเลี้ยงเป็ด-ไก่ ได้กับทุกยี่ห้อ และสามารถเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการเลี้ยงของโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการลดปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ชุดควบคุมหลายประเภทสามารถลดต้นทุนได้ทั้งหมด 14.82 ล้านบาท
นักวิจัย : คุณวรวิทย์ ศรีมะเริง บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
เอสซีจี
บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ได้พัฒนาสูตรการผลิตผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกชนิดใหม่ และใช้เทคนิค Small Angle X-ray Scattering (SAXS) และ Wide Angle X-ray Diffraction (WAXD) จากแสงซินโครตรอน เพื่อศึกษากลไกการจัดเรียงตัวในโครงสร้างผลึกและการแยกเฟสของโพลิโพรพิลีน (Polypropylene) ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การดึงยืดและการให้ความร้อน รวมไปถึงผลที่เกิดจากสารเติมแต่งต่างๆ เพื่อพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถเพิ่มยอดขายได้ ประมาณ 60 ล้านบาท/ปี
นักวิจัย : ดร.วันเฉลิม รุ่งสว่าง บริษัท เอสซีจีเคมิคอลส์ จำกัด
เส้นใยจากใบสับปะรด
นักวิจัยทำการศึกษาการเกิดโครงสร้างภายในของยางธรรมชาติ และยางธรรมชาติคอมโพสิทที่มีการเติมเส้นใยใบสับปะรดและเขม่าดำ ด้วยเทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์มุมกว้าง ผลการวิเคราะห์นี้นำไปสู่การพัฒนาเสริมคุณสมบัติที่ดีให้กับยางธรรมชาติ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยางของไทยต่อไป
นักวิจัย : รศ.ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย มหาวิทยาลัยมหิดล
SSI
เทคนิคทางแสงซินโครตรอน ได้แก่ PEEM, PES ช่วยแก้ปัญหาการเกิดลายไม้ในผลิตภัณฑ์เหล็กรีดร้อนและเทคนิค XAS ช่วยแก้ปัญหาการเกิดผิวหน้าเหล็กดำ (Dark surface) ในผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนประเภทล้างผิวและเคลือบน้ำมัน ของบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ลดของเสียจากการผลิตลงได้กว่า 40 ล้านบาทต่อปี
นักวิจัย : คุณสุพัฏร์ฏรา อินทรศักดิ์ดา บริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
อีตัน
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และ บริษัท อีตัน อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันวิจัยและพัฒนาการผลิตอุปกรณ์ด้ามจับไม้กอล์ฟรุ่นใหม่ๆ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงออกสู่ตลาด และช่วยเพิ่มมูลค่าการขายให้แก่บริษัทกว่า 2.4 ล้านบาทต่อปี
นักวิจัย : คุณสุทธิเกียรติ ไทยประสานทรัพย์ บริษัท อีตัน อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ไข่มุกสีทอง
นักวิจัย ได้ใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 ศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในกลไกลการเปลี่ยนสีของไข่มุก นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมไข่มุกสีทองด้วยแสงซินโครตรอน นอกจากนี้ ยังใช้เทคนิคโฟโตลิโธกราฟี สร้างลวดลายที่มีความคมชัดและความละเอียดระดับไมโครเมตรลงบนผิวไข่มุกได้อย่างสวยงาม
นักวิจัย : ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
เครื่องเคลือบกระจก
สถาบันวิจัยแสงซินโครตอน (องค์การมหาชน) จับมือกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาเครื่องเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์ ขนาด 2.4 เมตร ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนโดยฝีมือคนไทย ผลงานดังกล่าวสามารถประหยัดงบประมาณของแผ่นดินไปถึง 36 ล้านบาท หรือประมาณ 72%
วิศวกร/นักวิจัย : ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์, คุณสำเริง ด้วงนิล ดร.สุพัฒน์ กลิ่นเขียว, คุณสุพรรณ บุญสุยา, คุณเด่นชาย บำรุงเกาะ คุณนฤพนต์ ว่องประชานุกูล คุณปิยวัฒน์ ปรึกไธสง
อักษรเบรลล์
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ใช้เทคนิคโฟโตลิโธกราฟี สร้างชิ้นส่วนต่างๆ นำมาประกอบเป็นเครื่องต้นแบบชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 20 เซลล์ และในโอกาสนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องต้นแบบ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และขอพระราชทานพระราชานุญาตผลิตเครื่องดังกล่าว จำนวน 200 เครื่อง เพื่อมอบให้โรงเรียนสอนคนตาบอดทั่วประเทศ
นักวิจัย : ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)