ผลการดำเนินงานของสถาบันฯ ตามนโยบายรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
นโยบายของรัฐบาล
6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
ข้อ 6.2 เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง และนำพาประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้แบบสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ พัฒนาสายงานการวิจัยเพื่อให้นักวิจัยมีระบบความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาแหล่งงานด้านการวิจัยเพื่อรองรับบุคลากรการวิจัยทั้งในภาครัฐและเอกชน
ข้อ 6.4 จัดระบบบริหารงานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพสูง โดยการจัดเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการวิจัยระหว่างหน่วยงาน และสถาบันวิจัยที่สังกัดภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศ รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาเพื่อลดความซ้ำซ้อนและทวีศักยภาพ จัดทำแผนวิจัยแม่บทเพื่อมุ่งเป้าหมายของการวิจัยให้ชัดเจน เน้นให้เกิดการวิจัยที่ครบวงจรตั้งแต่การวิจัยพื้นฐานไปถึงการสร้างผลิตภัณฑ์โดยมุ่งให้เกิดห่วงโซ่คุณค่าในระดับสูงสุด ส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยโดยมุ่งเข้าสู่ระดับร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ผลการดำเนินงาน
1. การส่งเสริมและสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ
สถาบันฯ ได้คัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น ก่อนนำความ
กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงทราบและทรงคัดเลือกนักศึกษา 2
คน และครูฟิสิกส์ 2 คน เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรม
- นายนวเดโช ชาญขุนทด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- นายรฐกร แก้วอ่วม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นายสุรศักดิ์ ศรีสุวงศ์ โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี
- นางสาวชุลีนี พาหุรัตน์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
2. การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
สถาบันฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน เพี่อการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม โดยเฉพาะการวิจัยที่มีความเชื่อมโยงกับการเกษตร โดยมีผลการดำเนินงานการวิจัยที่สำคัญ เช่น
- การใช้ระบบลำเลียงแสงที่ 3.2b PEEM ของห้องปฏิบัติการแสงสยามกับตัวอย่างทางชีวภาพ: การหาวิธีเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับเซลล์จากพืช
- การใช้ FTIR เพื่อประเมินฤทธิ์การต้านเชื้อรา
- การวิเคราะห์ด้วย FTIR เพื่อดูผลของสารต้านออกซิเดชันที่ใช้กับเซลล์เพาะเลี้ยงและ/หรือเนื้อเยื่อชีวภาพ
- กลไกของเชื้อรา Collectotrichum ต่อการตอบสนองของสภาวะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
- บทบาทของสารประกอบเคลือบท่อนอ้อยต่อการจำแนกชนิดพันธุ์ โดยใช้เทคนิค FTIR Spectroscopy
- การศึกษาประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เส้นใยก้อนเชื้อเห็ด และน้ำกรองเลี้ยงเชื้อเห็ดที่สกัดได้จากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi ในการควบคุมอัตราการตาย และการฟักไข่ของไส้เดือนฝอยสาเหตุโรครากปมในมะเขือเทศ
สถาบันฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน เพื่อการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะการวิจัยที่มีความเชื่อมโยงกับการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีผลการดำเนินงานการวิจัยที่สำคัญ เช่น
- การวินิจฉัยผลการตอบสนองของเซลล์มะเร็งก่อนและหลังการให้สารสมุนไพร
- การจำแนกผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีด้วยเทคนิค FTIR microspectroscopy
- ฤทธิ์ของสารกลุ่มลิกแนนต่อสารชีวโมเลกุลในเซลล์มะเร็ง
- การศึกษาความเป็นพิษของเมลาโทนินบรรจุในไนโอโซมนำส่งทางจมูก
- การใช้เทคนิค FTIR Microspectroscopy ในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยซีรั่มจากผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
สถาบันฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน เพื่อการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะการวิจัยที่มีความเชื่อมโยงกับด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีผลการดำเนินงานการวิจัยที่สำคัญ เช่น
- การใช้เทคนิคเอกซเรย์แอปซอปชันเนียเอจสทรัคเจอร์เพื่อจำแนกชนิดสารประกอบกำมะถันในอนุภาคฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ในชั้นบรรยากาศจังหวัดเชียงใหม่ของช่วงเหตุการณ์ที่มีการเผาไหม้ชีวมวลในที่โล่ง
สถาบันฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน เพื่อการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะการวิจัยที่มีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีด้านโบราณคดี โดยมีผลการดำเนินงานการวิจัยที่สำคัญ เช่น
- โครงการการศึกษาแก้วโบราณของประเทศไทยด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์
- การวิเคราะห์แก้วประดับแบบล้านนาโบราณ
- การวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งบ้านโป่งมะนาว ภาคกลางของประเทศไทย
เทคโนโลยีด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
สถาบันฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน เพื่อการวิจัยและพัฒนา เกี่ยวกับเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การวิจัยเรื่องการพัฒนาต้นแบบอักษรเบรลล์ เป็นต้น