สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 

h1

“แสงซินโครตรอน” ที่ผลิตขึ้นจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุลบหรืออิเล็กตรอนให้มีความเร็วสูงมากๆ ใกล้เคียงกับ ความเร็วแสง จากนั้นจะบังคับให้อิเล็กตรอนเลี้ยวเบนกระทันหัน ขณะเกิดการเลี้ยวเบนอิเล็กตรอนจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่า “แสงซินโครตรอน” นั้นเอง นักวิทยาศาสตร์ได้นำแสงซินโครตรอนมาใช้ประโยชนเพื่อการวิเคราะห์โครงสร้างของสสารในระดับที่ตามองไม่เห็นนั่นคือโมเลกุลหรืออะตอม เพื่อนำไปสู่การวิจัย และการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ก่อเกิดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ต่อไป

พัฒนาการของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน 

เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ตั้งอยู่ที่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเป็นเครื่องกำเนิด แสงซินโครตรอน รุ่นที่ 2 ที่ได้รับเครื่องมาจากประเทศญี่ปุ่น และนำมาติดตั้งที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งในตอนนั้นใช้ชื่อว่าศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสง ซินโครตรอนแห่งชาติ หลังจากประสบความสำเร็จในการผลิตแสงซินโครตรอนจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนด้วยอิเล็กตรอนที่มีพลังงาน 1,000 ล้านอิเล็กตรอนโวลท์ และการให้บริการ แสงซินโครตรอนแก่ผู้ใช้ ในปี พ.ศ. 2546 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ

Screenshot 1

ในปัจจุบัน โลกวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนของไทยรองรับงานวิจัยได้จำกัด งานวิจัยทางวิชาการและการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศถูกจำกัดด้านพลังงานของแสงที่ผลิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาวิจัยวัสดุเชิงลึกที่ต้องศึกษาลึกลงไปถึงระดับการเรียงตัวของอะตอม แสงที่สามารถนำไปศึกษาวิจัย ต้องมีคุณภาพของแสงที่สูงมาก และขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนด้วย

เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV พาประเทศไทยสู่ Thialand 4.0 

Screenshot 2

เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV จะทำให้สามารถรองรับ ระบบลำเลียงแสงได้ถึง 23 ระบบลำเลียงแสง มีนักวิจัยเข้ามาใช้ประโยชน์แสง ซินโครตรอนได้มากถึง 1,300 โครงการต่อปี หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า ในปัจจุบันรวมถึงจะมีงานวิจัยที่เป็นระดับเชิงลึกมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางเกษตรและอาหาร การวิจัยโบราณคดีเชิงนิติวิทยาศาสตร์ ตลอดจนงานวิจัยเชิงคุณค่าทาง ศิลปวัฒธรรม นอกจากนี้ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมยังช่วยขยายขีดความ สามารถในรองรับงานวิจัยจากภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มมากขึ้น สร้างสรรค์ นวัตกรรมหลากหลายชนิด ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศผ่านความสัมพันธ์ ระหว่างวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม อีกทั้งยังนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพ บุคลากรของไทย สาขาอาชีพต่างๆ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาค วิศวกร และช่างผู้ชำนาญการ เป็นต้น

ประโยชน์ของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนขนาด 3 GeV ต่อประเทศไทย  

1

ด้านการแพทย์ 
เพื่อยกระดับความสามารถทางการแพทย์และเภสัชกรรม โดยการวิจัย สารประกอบในพืชและสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค รวมถึงการ ศึกษาโครงสร้างของโปรตีน ไวรัส และเอนไซม์ เพื่อหากลไกของการติดเชื้อ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปสู่การออกแบบยารักษาโรคใหม่ๆ

 

4อุตสาหกรรมวัสดุขั้นสูง 
ช่วยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติวัสดุภายใต้สภาพแวดล้อม ที่แตกต่างกัน ตอบสนองความต้องการในการทำวิจัย และพัฒนาของ นักวิจัยวัสดุก่อสร้าง เช่น คอนกรีตสูตรใหม่ โลหะ และวัสดุคอมโพสิท ชนิดใหม่ เป็นต้น

 

2อาหารและการเกษตร
ช่วยเพิ่มมูลค่าตั้งแต่การจัดการผลผลิตกระบวนการทางวิศวกรรมด้านการเกษตร การแปรรูปอาหาร การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารไปจนถึง ความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนของรัฐบาลในการ พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร

5ด้านสิ่งแวดล้อม
ช่วยในการวิเคราะห์การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างโรคพืชและโมเลกุลที่พืชดูดซึม เข้าไปได้ นำไปสู่การหาแนวทางป้องกันการเกิดโรคในพืชและลดความ สูญเสียทางเศรษฐกิจ

3อุตสาหกรรมพลังงาน
ช่วยในงานวิจัยที่เกี่ยวกับการผลิตและกักเก็บพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ เช่น วิจัยเกี่ยวกับเซลล์พลังงาน (Fuel Cell) และเทคโนโลยีแบตเตอรี่

6ด้านโบราณคดี
การศึกษาโบราณคดีในเชิงนิติวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นการวิเคราะห์โครงสร้าง ในระดับอะตอมเชิงลึก ทั้งการหาที่มาตลอดจนการถ่ายภาพ 3 มิติ ด้วยเทคนิคทางแสงซินโครตรอนเพื่อไขปริศนาข้อมูลโบราณที่ขาดหายไป และการผลิตของใหม่เพื่อการบูรณะ

3GeV newdesign 03

p99m3.1m4.1m2.1m5.1m7.1m6.1m8m93gm10m11