“ด้วงสาคู” ในธรรมชาติจะกัดกินต้นสาคูเป็นอาหาร ในบางพื้นที่ด้วงชนิดนี้อาศัยอยู่กับต้นมะพร้าว ก็จะเรียกกันว่า “ด้วงมะพร้าว” ซึ่งในปัจจุบันมีเกษตรกรไทยหลายกลุ่มที่ทำการเพาะเลี้ยงด้วงสาคู ทั้งในภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคอื่นๆทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดยะลา เนื่องด้วยมีทรัพยากรป่าต้นสาคูอยู่ในพื้นที่ เกษตรกรในชุมชนจึงสามารถหาวัตถุดิบในการเพาะเลี้ยงด้วงสาคูได้ไม่ยาก ด้วงสาคูนั้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น.นำไปปรุงอาหาร นำไปเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยงชนิดอื่น และนำไปแปรปรูเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งนับว่าการเพาะเลี้ยงด้วงสาคูสามารถเป็นช่องทางในการสร้างรายได้แก่เกษตรกรไทยได้เป็นอย่างดี

 

ด้วงสาคู 1 1


          ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงด้วงสาคูเชิงพาณิชย์ จำเป็นต้องเลี้ยงตัวอ่อนของด้วง และพ่อแม่พันธ์ ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ป่า เพื่อให้พ่อแม่พันธ์ สามารถผมสมพันธ์เป็นตัวอ่อนด้วงได้มากที่สุด และสภาพแวดล้อมที่ใช้เลี้ยงด้วง ก็จำเป็นต้องควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกันเพื่อให้ตัวด้วงเจริญเติบโตได้เร็ว สำหรับการเพาะเลี้ยงด้วงสาคูในพื้นที่เขตเมืองที่มีสภาพอากาศแตกต่างจากถิ่นกำเนิดของด้วง จำเป็นต้องมีการควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ ทางสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) จึงได้พัฒนาระบบเพาะเลี้ยงด้วงสาคูอัตโนมัติ ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมภายในห้องเพาะเลี้ยงให้ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมจากถิ่นกำเนิดของด้วง โดยระบบสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของอากาศให้เหมาะสมได้ มีระบบควบคุมความชื้นในอาหารเลี้ยงตัวอ่อนให้มีความชื้นสม่ำเสมอ มีระบบกล้องวงจรปิดภายในห้อง อีกทั้งระบบที่ออกแบบยังสามารถเก็บข้อมูลสภาพอากาศภายในห้องเพาะเลี้ยงและแสดงผลออนไลน์ ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ และแจ้งเตือนเมื่อระบบผิดปกติ

 

ด้วงสาคู 2 


          สำหรับระบบควบคุมที่ได้ออกแบบและทดสอบการใช้งานเพาะเลี้ยงด้วงสาคูมาแล้ว 2 รุ่น ระบบดังกล่าวยังถูกออกแบบให้สามารถปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์หรือแมลงชนิดอื่นๆได้อีกหลายชนิด

POWERPOINT TEMPLATE 06

Go to top