Annual Report 2019

การพัฒนาและการดำเนินงาน

การดำเนินงาน
ด้านความปลอดภัย

1. งานด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี

1.1 การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานทางรังสีสถาบันฯ ได้กำหนดเขตพื้นที่เพื่อความปลอดภัยทางรังสีตามประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีออกตามความพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพ.ศ. 2504-พ.ศ. 2549 ดังต่อไปนี้ พื้นที่ควบคุมคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นตั้งแต่ 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีขึ้นไป (พื้นที่ควบคุมP 6 mSv/y) พื้นที่ตรวจตราคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นมากกว่า 1 แต่ไม่ถึง 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (1 mSv/yMพื้นที่ตรวจตราM 6 mSv/y) โดยสถาบันฯ ได้แสดงรายละเอียดและขอบเขตของแต่ละพื้นที่ไว้ดังผังแสดงการแบ่งพื้นที่ทางรังสีดังนี้

1.2 การตรวจวัดระดับปริมาณรังสีสถาบันฯ ได้นำมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยทางรังสีได้แก่ Radiation Safety for the Design and Operation of Particle Accelerators, ANSI/HPS N43.1-2011 และ Radiation Protection for Particle Accelerator Facilities, NCRP Report No.144 มาประยุกต์ใช้เพื่อการเฝ้าระวังระดับรังสีที่เกิดขึ้นกับทั้งผู้ปฏิบัติงานทางรังสี สถานที่ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบสถาบันฯ จึงได้ติดตั้งระบบตรวจวัดรังสีทั้งแบบ Passive monitoring และ Active monitoring

(ก) ระบบตรวจวัดปริมาณรังสีแบบ Passive monitoring โดยสถาบันฯ ได้มีการตรวจวัดปริมาณรังสีทั้งในบริเวณพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ตรวจตรา โดยใช้แผ่นวัดรังสี OSLs (Optically stimulated luminescence) ชนิดสิ่งแวดล้อมจำนวน 101 แผ่นโดยเพิ่มเติม 2 แผ่นสำหรับ ASEAN Beamline ดังรูปที่ 2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ทั้งในอาคารและในสิ่งแวดล้อมด้านนอกของอาคารปฏิบัติการวิจัยแสงสยาม

ผังแสดงการวางตำแหน่ง OSLs เพื่อตรวจวัดปริมาณรังสี

ปริมาณรังสีสะสมในพื้นที่ตรวจตราที่บันทึกได้สูงสุดตลอดปี 2562 คือ 4.22 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี ณ บริเวณตำแหน่งที่ตั้งของ BL8-1 ซึ่งเป็นปริมาณรังสีสะสมที่ไม่เกินเกณฑ์สำหรับพื้นที่ตรวจตราตามที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด ส่วนปริมาณรังสีสะสมในพื้นที่ควบคุมที่บันทึกได้สูงสุดตลอดปี 2561 คือ 73,336.42 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี ณ บริเวณตำแหน่ง Kicker Magnet ในพื้นที่ห้องเครื่องเร่งอนุภาคแนววงกลมชั้นใต้ดิน โดยสถาบันฯ ไม่อนุญาตให้ใครก็ตามเข้าไปในบริเวณพื้นที่ควบคุมดังกล่าว ในขณะที่มีการเดินเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนโดยเด็ดขาด

(ข)ระบบตรวจวัดรังสีแบบ Active Monitoring โดยสถาบันฯ ได้มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดรังสีแบบแสดงผลทันที ซึ่งเหมาะสมกับการตรวจวัดได้ทั้งรังสีแกมมาและนิวตรอนที่มาจากเครื่องเร่งอนุภาค สามารถบันทึกและรายงานผลได้ทันทีตามเวลาจริง มีระบบสัญญาณไฟพร้อมส่งเสียงเตือนหากระดับรังสีที่วัดได้เกินค่าที่ตั้งไว้ สามารถส่งสัญาณไปยังห้องควบคุมการเดินเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนได้ทันที โดยในปีงบประมาณ 2562 ได้ติดตั้งเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 สถานี ทำให้ปัจจุบันมีสถานีตรวจวัดรังสีรวมทั้งหมด 11 สถานี กระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ภายในบริเวณห้องปฏิบัติการแสงสยามดังรูป

ภาพสถานีตรวจวัดรังสีแบบแสดงผลทันทีที่ติดตั้งเพิ่มเติมในปี 2562

ผลจากการติดตามการตรวจวัดปริมาณรังสีที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันทั้งวันที่ให้บริการแสงซินโครตรอนและวันที่ไม่ได้ให้บริการแสงซินโครตรอน ทำให้ทราบว่าอัตราการเกิดปริมาณรังสีรวมในขณะที่ไม่ได้ให้บริการแสงซินโครตรอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.066 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ทำให้มีปริมาณรังสีสะสมรวมทุกสี่ชั่วโมงมีค่าประมาณ 0.26 ไมโครมิลลิซีเวิร์ตดังรายละเอียดที่แสดงในภาพถัดไป (บน)

ส่วนในวันที่มีการให้บริการแสงซินโครตรอนตามปกตินั้นจะมีค่าอัตราการเกิดรังสีรวมประมาณ  0.1-0.2 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง โดยจะมีช่วงระยะเวลาที่มีการเติมอิเล็กตรอนเข้าไปในวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอนในเวลา 08.00 - 08.30 น และเวลา 20.00 – 20.30 น ซึ่งจะทำให้อัตราการเกิดรังสีรวมเพิ่มขึ้นชั่วขณะเวลาสั้นๆ โดยไม่ส่งให้ค่าปริมาณรังสีสะสมรวมทุกๆ สี่ชั่วโมงมีค่าเปลี่ยนแปลงไปมากนักดังรายละเอียดที่แสดงในภาพถัดไป (ล่าง) แต่อย่างไรก็ตามสถาบันฯ ไม่อนุญาตให้ใครก็ตามเข้าไปในโถงทดลองตลอดทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าว

(บน)ผลการตรวจวัดรังสีขณะที่ไม่ได้ให้บริการแสงฯ (ล่าง)ผลการตรวจวัดรังสีขณะที่ให้บริการแสงฯ

3) งานพัฒนาระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยการเข้าออกพื้นที่

สถาบันฯ ได้พัฒนาระบบควบคุมการเข้าออกพื้นที่ให้สามารถแสดงข้อมูลบุคคลที่เข้าออกและยังคงอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ได้ โดยปัจจุบันระบบสามารถแสดงข้อมูลบุคคลสำหรับพื้นที่ปฏิบัติงานภายในห้องปฏิบัติการวิจัยแสงสยามได้แก่ พื้นที่ห้องเครื่องเร่งอนุภาคแนววงกลมชั้นใต้ดินพื้นที่ห้องวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน และพื้นที่โถงทดลอง โดยระบบดังกล่าวสามารถช่วยให้ทราบได้ว่ากำลังมีใครปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวบ้างผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สะดวกและรวดเร็วดังแสดงในภาพถัดไป ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่องแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานรายดังกล่าวให้ออกจากพื้นที่ ก่อนที่จะเริ่มการเดินเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนของแต่ละช่วงเวลาอันเป็นการลดโอกาสในการได้รับรังสีของผู้ปฏิบัติงานรายนั้นๆ ให้น้อยที่สุดอย่างสมเหตุสมผล

โปรแกรมแสดงข้อมูลบุคคลที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ภายในห้องปฏิบัติการวิจัยแสงสยาม

4) การประเมินปริมาณรังสีบุคคล

สถาบันฯ มีมาตรการความปลอดภัยทางรังสีด้วยการตรวจวัดและบันทึกค่าปริมาณรังสีที่ได้รับของผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ด้วยแผ่นวัดรังสีประจำบุคคล OSLs (Optically Stimulated Luminescence)และเครื่องวัดรังสีประจำบุคคลโดยมีรายละเอียดดังนี้

4.1) การประเมินปริมาณรังสีบุคคลสำหรับบุคลากรสถาบันฯ ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีได้ใช้แผ่นวัดรังสีประจำบุคคล OSLsโดยมีสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ดำเนินการวิเคราะห์ปริมาณการได้รับรังสีของบุคลากรสถาบันฯ ซึ่งในปี 2562 สถาบันฯ ได้ทำการวัดและบันทึกปริมาณรังสีที่ได้รับของผู้ปฏิบัติงานทางรังสีจำนวนทั้งสิ้น 251 คน ไม่พบบุคคลใดที่ได้รับปริมาณรังสีเกินกว่าที่กำหนด ค่าที่บันทึกปริมาณรังสีที่ได้รับสูงสุดคือ 0.92 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี

4.2) การประเมินปริมาณรังสีบุคคลสำหรับผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอน โดยเครื่องวัดรังสีประจำบุคคล(Dosimeter) ซึ่งในปี 2562 สถาบันฯ ได้ทำการวัดและบันทึกปริมาณรังสีที่ได้รับของผู้มาใช้บริการแสงซินโครตรอนจำนวนทั้งสิ้น 761 คน ไม่พบว่ามีผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนได้รับปริมาณรังสีเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ค่าที่บันทึกปริมาณรังสีที่ได้รับสูงสุดคือ 0.0269 มิลลิซีเวิร์ต โดยเข้ามาใช้บริการแสงซินโครตรอนที่สถานีโดยทดลอง BL4.1 และ BL1.1w เป็นเวลาทั้งหมดรวม 96 ชั่วโมง

หมายเหตุ1เกณฑ์มาตรฐาน เป็นปริมาณรังสีที่บุคคลที่ปฏิบัติงานทางรังสีได้รับต้องไม่เกิน 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (โดยคำนวณจากการทำงาน 2,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ 50 สัปดาห์ต่อปี ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ และทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน) ซึ่งเป็นเกณฑ์ของ International Commission of Radiological Protection (ICRP103)

5) การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางรังสี

 สถาบันฯ ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร“การสร้างความตระหนักรู้ทางรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1”ซึ่งเครื่องกำเนิดแสงซฺนโครตรอนจัดเป็นเครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 โดยได้จัดอบรมในวันพุธที่4 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องออดิธอเรียม โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาบรรยายและทำการทดสอบความรู้ทั้งก่อนและหลังการอบรมด้วย โดยมีผู้ที่ปฏิบัติงานทางรังสีเข้าร่วมฝึกอบรมทั้งหมด 100 คน ในจำนวนนี้มีทั้ง ผู้ที่เริ่มปฏิบัติงานทางรังสีรายใหม่และผู้ปฏิบัติงานที่เข้าอบรมฟื้นฟูความรู้หลังจากที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมมาแล้ว 2 ปี

ภาพบรรยากาศการอบรมของผู้ที่ปฏิบัติงานทางรังสี ประจำปี 2562

Copyright © 2019 Synchrotron light research institute. All rights reserved.

1.1 การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานทางรังสีสถาบันฯ ได้กำหนดเขตพื้นที่เพื่อความปลอดภัยทางรังสีตามประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีออกตามความพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพ.ศ. 2504-พ.ศ. 2549 ดังต่อไปนี้ พื้นที่ควบคุมคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นตั้งแต่ 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีขึ้นไป (พื้นที่ควบคุมP 6 mSv/y) พื้นที่ตรวจตราคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นมากกว่า 1 แต่ไม่ถึง 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (1 mSv/yMพื้นที่ตรวจตราM 6 mSv/y) โดยสถาบันฯ ได้แสดงรายละเอียดและขอบเขตของแต่ละพื้นที่ไว้ดังผังแสดงการแบ่งพื้นที่ทางรังสีดังนี้

1.1 การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานทางรังสีสถาบันฯ ได้กำหนดเขตพื้นที่เพื่อความปลอดภัยทางรังสีตามประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีออกตามความพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพ.ศ. 2504-พ.ศ. 2549 ดังต่อไปนี้ พื้นที่ควบคุมคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นตั้งแต่ 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีขึ้นไป (พื้นที่ควบคุมP 6 mSv/y) พื้นที่ตรวจตราคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นมากกว่า 1 แต่ไม่ถึง 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (1 mSv/yMพื้นที่ตรวจตราM 6 mSv/y) โดยสถาบันฯ ได้แสดงรายละเอียดและขอบเขตของแต่ละพื้นที่ไว้ดังผังแสดงการแบ่งพื้นที่ทางรังสีดังนี้

1.1 การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานทางรังสีสถาบันฯ ได้กำหนดเขตพื้นที่เพื่อความปลอดภัยทางรังสีตามประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีออกตามความพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพ.ศ. 2504-พ.ศ. 2549 ดังต่อไปนี้ พื้นที่ควบคุมคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นตั้งแต่ 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีขึ้นไป (พื้นที่ควบคุมP 6 mSv/y) พื้นที่ตรวจตราคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นมากกว่า 1 แต่ไม่ถึง 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (1 mSv/yMพื้นที่ตรวจตราM 6 mSv/y) โดยสถาบันฯ ได้แสดงรายละเอียดและขอบเขตของแต่ละพื้นที่ไว้ดังผังแสดงการแบ่งพื้นที่ทางรังสีดังนี้

การดำเนินงาน
ด้านความปลอดภัย

1.1 การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานทางรังสีสถาบันฯ ได้กำหนดเขตพื้นที่เพื่อความปลอดภัยทางรังสีตามประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีออกตามความพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพ.ศ. 2504-พ.ศ. 2549 ดังต่อไปนี้ พื้นที่ควบคุมคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นตั้งแต่ 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีขึ้นไป (พื้นที่ควบคุมP 6 mSv/y) พื้นที่ตรวจตราคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นมากกว่า 1 แต่ไม่ถึง 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (1 mSv/yMพื้นที่ตรวจตราM 6 mSv/y) โดยสถาบันฯ ได้แสดงรายละเอียดและขอบเขตของแต่ละพื้นที่ไว้ดังผังแสดงการแบ่งพื้นที่ทางรังสีดังนี้

1.1 การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานทางรังสีสถาบันฯ ได้กำหนดเขตพื้นที่เพื่อความปลอดภัยทางรังสีตามประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีออกตามความพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพ.ศ. 2504-พ.ศ. 2549 ดังต่อไปนี้ พื้นที่ควบคุมคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นตั้งแต่ 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีขึ้นไป (พื้นที่ควบคุมP 6 mSv/y) พื้นที่ตรวจตราคือบริเวณที่มีรังสีเกิดขึ้นมากกว่า 1 แต่ไม่ถึง 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (1 mSv/yMพื้นที่ตรวจตราM 6 mSv/y) โดยสถาบันฯ ได้แสดงรายละเอียดและขอบเขตของแต่ละพื้นที่ไว้ดังผังแสดงการแบ่งพื้นที่ทางรังสีดังนี้