Annual Report 2019

การพัฒนาและการดำเนินงาน

การพัฒนาระบบลำเลียงแสง
และสถานีทดลอง

ระบบลำเลียงแสงและสถานีทดลองที่ 3.2Ua : Photoelectron EmissionSpectroscopy (PES)

ติดตั้งระบบปลูกฟิล์มแบบ Mini-Molecular beam epitaxy (MBE) ที่สามารถทำความสะอาดตัวอย่างโดยใช้ความร้อนและสามารถปลูกฟิล์มบนพื้นผิวของตัวอย่างเพื่อศึกษา band mapping ได้อีกด้วย

พัฒนาเทคนิค UPSและ XPS โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ CLAM2 เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ศึกษาการจัดตำแหน่งของระดับชั้นพลังงานของรอยต่อ heterojunction สำหรับวัสดุโฟโตโวลตาอิกและวัสดุพลังงาน อีกทั้งยังสามารถให้ไบอัสตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ work function และ valence band เพื่อดู energy band diagram ของตัวอย่างได้ด้วย

ให้บริการเทคนิค NEXAFS ในสองโหมด คือ Surface-sensitive total electron yield (TEY) และ bulk-sensitive total fluorescence yield (TFY) ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์แบบ multichannel plate ในช่วงพลังงานของเอกซเรย์พลังงานต่ำ ตัวอย่างเช่น การปนเปื้อนของคาร์บอนในตัวอย่างซึ่งเป็นปกติสำหรับตัวอย่างทั่วไปและเป็นปัญหาทางเทคนิคของ photoemission และ Auger spectroscopy ที่ไม่สามารถแยกแยะคุณลักษณะของคาร์บอนที่ปนเปื้อนออกจากคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบของตัวอย่างได้ ในขณะที่เทคนิค NEXAFS สามารถทำให้เราแยกความแตกต่างของฟิล์ม diamond-like carbon(DLC)ภายใต้การปนเปื้อนบริเวณพื้นผิวตัวอย่างได้อย่างชัดเจน

ติดตั้งระบบ U60photon beam monitor ที่ front-end ของระบบลำเลียงแสงเพื่อสังเกตุการกระจายของ photon flux ที่พลังงาน 120 eV โดยใช้กระจกแบบ multilayer (ML) และ YAG:Ce fluorescence และศึกษาข้อมูลรูปแบบของแสงร่วมกับฝ่ายเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อปรับตำแหน่งและมุมของลำอิเล็กตรอนให้ได้เงื่อนไขการทำงานที่ดีที่สุดสำหรับ U60 และหารือเกี่ยวกับการ alignment ของแม่เหล็ก U60 ต่อไป

จัด ASEANworkshop ของเทคนิค photoemission electron spectroscopy และ microscopy (AWPESM2019) ในวันที่ 17-19 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคนิคของระบบลำเลียงแสงเอกซเรย์พลังงานต่ำและสร้างความร่วมมือในการวิจัย ร่วมกับระบบลำเลียงแสงที่ 3.2Ub PEEM และระบบลำเลียงแสงที่ 5.3XPS

ทีมของระบบลำเลียงแสงยังได้เข้าร่วมเพื่อสนับสนุนการประชุมทางวิชาการระดับอาเซียนของเทคนิค XAS และการประชุมสัมมนาของ graphene, DLC และวัสดุที่มีความเกี่ยวข้องกับคาร์บอน โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นเหล่านี้ทำให้สามารถดึงดูดผู้ใช้งานที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงได้สร้างความร่วมมือทางวิชาการให้ใกล้ชิดและเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

ระบบตรวจสอบลำแสงโฟตอนของU60 และbeam profile ที่พลังงาน 120 eVที่กระจก ML แสดงภาพเมื่อปรับ undulator gaps จาก 26.5 ถึง 50.0 มม. ที่ระยะห่างจากศูนย์กลางของ U60 8 เมตร ความกว้างของช่องเปิดสลิต 8x5 mm2

Copyright © 2019 Synchrotron light research institute. All rights reserved.

การพัฒนาระบบลำเลียงแสง
และสถานีทดลอง