SATI11 banner

Download
เปิดให้ดาวน์โหลดได้แล้ว ตั้งแต่วันน้ ถึง 7 กันยายน 2561 เท่านั้น

1. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
โดย ดร.สมชาย ตันชรากรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (กิจการพิเศษ) สซ.
PDFicon6

2. การแก้ปัญหาและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ 
โดย ผศ.ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

PDFicon6

3. แนวโน้มนวัตกรรมและบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต
โดย อาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก ที่ปรึกษาสถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทย
PDFicon6

4. Understanding the “Structure-Function” of Materials Using Synchrotron XAS
โดย ดร.พินิจ กิจขุนทด ผู้จัดการระบบลำเลียงแสง BL5.2 สซ.
PDFicon6

5. Synchrotron X-ray Scattering/Diffraction for Nano-Structural Characterization
โดย ดร.ศิริวัช สุนทรานนท์ ผู้จัดการระบบลำเลียงแสง  BL1.3W สซ.
PDFicon6

6. Surface Analysis with Synchrotron Radiation
โดย ดร.ชนรรค์ เอื้อรักสกุล นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง  BL3.2Ua&b สซ.
PDFicon6

 7. X-ray MicroCT: Revealing the Matter Inside Your Products in 3D
โดย ดร.ภัคนนันท์ ภัควนิตย์ นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง BL1.2W  สซ.
PDFicon6

 8. Micro X-ray Fluorescence on Materials Applications
โดย ดร.จิตริน ชัยประภา นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง  BL6a/b  สซ.
PDFicon6

 9. Towards Disposal Sensors for Gas Detection and Development of Smart Sensing System on Foil
โดย ดร.พัฒนพงศ์ จันทร์พวง หัวหน้าส่วนบริการผู้ใช้ สซ
.PDFicon6

 10. Industrial research laboratory
โดย ดร.วราภรณ์ ตัณฑนุช หัวหน้าส่วนวิจัยประยุกต์เพื่ออุตสาหกรรม สซ.
PDFicon6

11. การให้บริการของสถาบันสำหรับภาคเอกชน
โดย ดร.ศรายุทธ ตั้นมี หัวหน้าส่วนพัฒนาธุรกิจ สซ.PDFicon6

 

 

ความสำคัญและที่มาของโครงการ

         สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้จัดการอบรม“ซินโครตรอน เทคโนโลยีแสงขั้นสูง มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรม (Synchrotron, Advanced Technology for Industry: SATI)” อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคเอกชน ในการจัดอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องไปสู่อุตสาหกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์ โดยนำเสนอทั้งในด้านภาพรวมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน การบรรยายเทคนิคทางด้านแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่ตอบโจทย์งานวิจัย ภายใต้หัวข้อ “The 11th Synchrotron, Advanced Technology for Industry: Frontier Materials & Cutting edge Technology” โดยกลุ่มเป้าหมายของการอบรมในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ ฯลฯ จากภาคเอกชนจำนวน 80 คน

         การอบรมครั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพบปะกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันฯ และหน่วยงานจากภาคเอกชน ให้สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างเครือข่ายกับสถาบันฯ ในอนาคต เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในการวิจัยและตอบโจทย์การผลิตในอุตสาหกรรม กิจกรรมครั้งนี้จะช่วยการกระตุ้นภาคเอกชนให้สนใจการทำงานวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแสงซินโครตรอน ซึ่งจะนำมาสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศบนรากฐานแห่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมด้านวัสดุศาสตร์
  • เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านงานวิจัยกับภาคเอกชนในการเข้าใช้บริการแสงซินโครตรอน เครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ/หรือปรับปรุงกระบวนการผลิต
  • เพื่อสร้างการรับรู้แก่ภาคเอกชน และสามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้แก้โจทย์ปัญหาในอุตสาหกรรมได้

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้บริหาร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่จากภาคเอกชน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • นักวิจัยและบุคลากรของภาคเอกชนได้ความรู้และเข้าใจเทคนิคแสงซินโครตรอนเพิ่มขึ้น นำไปสู่การพัฒนางานวิจัยและผลิตภัณฑ์
  • ทำให้เกิดเครือข่ายงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ ระหว่างสถาบันฯ กับภาคเอกชน
  • ภาคเอกชนได้รับรู้ถึงศักยภาพของสถาบันฯ ในการรองรับงานวิจัยของภาคเอกชนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์
  • จำนวนโครงการของภาคเอกชนที่ขอใช้บริการแสงซินโครตรอน เครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น

Important dates

Submission deadline 

20 สิงหาคม 2561

17 สิงหาคม 2561

Announcement for Acceptance

21 สิงหาคม 2561

Workshop

24 สิงหาคม 2561

Poster

S 12795906

Facebook LikeBox

Go to top